logo

รหัสโครงการ

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย - 50%

จำนวนผู้เข้าชม: 464 คน

วันที่เผยแพร่ 2 ตุลาคม 2567 07:40

เกี่ยวกับโครงการ

ประเทศไทยได้เข้าสู่การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ส่งผลให้ประชาชนไทยทุกคนได้รับสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐสามระบบหลัก ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และระบบประกันสังคม ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการขยายความครอบคลุมประชากรให้สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้ อย่างไรก็ตามยังคงมีความท้าทายในการจัดการระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ และมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอก

การศึกษานี้เป็นการรวบรวมข้อมูล และการจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2567 โดยมีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ดังนี้

Sub-theme 1 ระบบนิเวศเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (ในระดับประชากร) (Ecosystem for Fighting against NCDs (at population level)): นโยบาย มาตรการ และทรัพยากรทางการเงินที่ใช้ในการรับมือกับความท้าทายด้านโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย ประสิทธิภาพ ความสำเร็จ ทรัพยากรที่ใช้ และช่องว่างในการดำเนินงาน รวมถึงแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนทุกคน

Sub-theme 2 กองทุนสุขภาพตำบล (Tambon Health Fund (THF)): ผลการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพของชุมชนในกองทุนตำบล การใช้ทรัพยากร การติดตามประสิทธิภาพของโปรแกรมเหล่านั้น ในแง่ของความครอบคลุม ประสิทธิผล และผลลัพธ์ด้านสุขภาพ รวมถึงตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานของกองทุนตำบลที่สามารถนำมาปรับใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้

Sub-theme 3 การเพิ่มความสามารถให้ประชาชนในการดูแลสุขภาพ (Empowering people): การค้นหานวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การศึกษาความสำเร็จในการดำเนินดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ และการประยุกต์ใช้ nudge principle ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมแรงจูงใจแก่ประชากรในการดูแลตนเองและสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนด้านองค์ความรู้และการดูแลตนเอง

Sub-theme 4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ (Energizing health systems): การส่งเสริมให้แต่ละองค์ประกอบของระบบสุขภาพ โดยเฉพาะกำลังคนด้านสุขภาพ ระบบข้อมูลข่าวสาร และการเงินการคลังด้านสุขภาพ มีความพร้อมในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการนี้จึงมีเป้าหมายให้มีการผลิตและใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2567 ด้วยวิธีการ (ก) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่วงก่อนการประชุมเพื่อจัดทำเป็นเอกสารนำเข้าที่ประชุม (ข) การรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นที่เกิดขึ้นระหว่างการประชุม และ (ค) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลและความรู้ที่ได้รับมาทั้งหมดเพื่อพัฒนาเป็นข้อสรุปสำหรับการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคต่อไป