logo

รหัสโครงการ

67083002RM008L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

ศ.กิตติคุณ นพ.เกรียง ตั้งสง่า

Prof. Vivekanand Jha

นักวิจัยร่วม

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี

นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์

นพ.วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข

พญ.ปิยะธิดา จึงสมาน

ศ.นพ.เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์

ศ.นพ.เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์

Dr. Valerie Luyckx

Dr. Gloria Ashuntantang

Dr. Fatiu Arogundade

Dr. Sydney Tang

Dr. Laura Sola

นัชชา ยงพิพัฒน์วงศ์

ดร. นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท

จุฑามาศ ปิยะวงษ์

สุพิชชา ถิตย์เจือ

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย - 40%

จำนวนผู้เข้าชม: 937 คน

วันที่เผยแพร่ 10 มิถุนายน 2567 02:00

เกี่ยวกับโครงการ

ภาวะไตวายเป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตซึ่งจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายไตหรือการล้างไตเพื่อให้รอดชีวิต ในปี 2019 มีการประมาณการว่าโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) ได้คร่าชีวิตประชาชนทั่วโลกไปประมาณ 1.4 ล้านคน ค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไตก็สูงเช่นกัน ทำให้ครัวเรือนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงเป็นไปได้ว่าประเทศต่าง ๆ อาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนในการรักษาภาวะไตวาย  การบำบัดทดแทนถูกบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของไทย ใน พ.ศ. 2551 โดยสนับสนุนให้ผู้ป่วยเลือกล้างไตทางช่องท้องเป็นทางเลือกแรก (peritoneal dialysis (PD)-first policy) โดยผู้ป่วยเลือกล้างไตด้วยวิธีฟอกเลือด (hemodialysis, HD) ได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง แต่ผู้ป่วยที่ไม่เหมาะจะใช้วิธี PD จะสามารถใช้วิธี HD ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินเอง  นโยบายนี้ดำเนินการเป็นเวลาประมาณ 15 ปีจนถึง พ.ศ. 2565 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเป็นเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกได้อิสระระหว่าง PD และ HD ตามต้องการโดยไม่มีความแตกต่างด้านค่าใช้จ่าย นโยบายนี้เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ป่วยผู้ป่วยในการเลือกการบำบัดทดแทนไต แต่ก็เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายการเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลบ่อยครั้งขึ้น จึงมีแนวโน้มจะสร้างภาระให้กับระบบมากขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายของ HD สูงกว่า PD อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทั้งหมดควรได้รับการประเมินเพิ่มเติม  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวิวัฒนาการของกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบำบัดทดแทนไตและบทเรียนที่อาจเป็นประโยชน์กับประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ทั้งในบริบทของประเทศไทยและบริบทระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง   

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว