logo

รหัสโครงการ

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

นพ.อานนท์ กุลธรรมานุสรณ์

พิสภาสินี พิศาลสินธุ์

ดร. ภญ.ขวัญพุทธา อรุณประเสริฐ

ศุภสุดา โพธิ์โสรีย์

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

กำหนดโครงร่างวิจัย - 35%

จำนวนผู้เข้าชม: 1666 คน

วันที่เผยแพร่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 05:49

เกี่ยวกับโครงการ

นโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”1 เป็นนโยบายภาครัฐจากแผนขับเคลื่อน นโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567 ประเด็นที่ 10 ว่าด้วยเรื่องดิจิทัลสุขภาพ (1) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับบริการสุขภาพให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับและทุกสังกัด โดยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่สะดวก มีคุณภาพ รวดเร็ว ลดระยะเวลาการรอคอย ลดระยะเวลาเดินทาง และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพของตนเองเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี และประชาชนสามารถเลือกรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลทุกเครือข่ายทั้งโรงพยาบาลรัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน คลินิกทันตกรรม ร้านยา และห้องปฏิบัติการเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยนโยบายนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ 4 ส่วน ได้แก่ 1) ระบบบันทึกข้อมูล 2) ระบบยืนยันตัวตน 3) ระบบการทำงาน และ 4) ระบบเชื่อมต่อประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิผล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โครงการต้องได้รับการประเมินเพื่อนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาโครงการให้บรรลุต่อเป้าหมายของการดำเนินงานต่อไป โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ได้รับมอบหมายจากสำนักสุขภาพดิจิทัล ให้ประเมินโครงการดังกล่าว โดยมุ่งเน้นให้ได้ผลการประเมินที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการให้บรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ผู้ประเมินจึงนำแนวคิดการประเมินเชิงพัฒนา (Development Evaluation) ร่วมกับการใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ใช้สำหรับการประเมินในสถานการณ์เชิงระบบที่มีความซับซ้อนและเป็นพลวัต (complex adaptive system) เช่นเดียวกับการดำเนินงานของนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวฯ ภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยการประเมินดังกล่าวต้องผสานการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประเมินและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้ได้แผนงานที่สอดคล้องกับสภาพบริบทและสามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังได้ผลการประเมินที่รวดเร็วสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างทันท่วงที