logo

รหัสโครงการ

64201002HM020L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 1076 คน

วันที่เผยแพร่ 31 พฤษภาคม 2566 02:39

เกี่ยวกับโครงการ

ในปัจจุบันหัตถการการใช้สายสวนสลายพังผืด (percutaneous epidural adhesiolysis: PEA) เป็นการรักษาทางเลือกการรักษาอาการปวดในกรณีที่ผู้ป่วยโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) และผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว (post lumbar surgery syndrome) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบมาตรฐาน (standard treatment) รวมไปถึงการรักษาด้วยการใช้ยาฉีดสเตียรอยด์เข้าช่องเหนือเยื่อไขสันหลังชั้นนอก (epidural steroid injection: ESI) ซึ่งเป็นหัตถการที่การใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันแต่หัตถการดังกล่าวยังคงมีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายของกองทุนสุขภาพต่างๆ การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่มีสาเหตุจากโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวนั้นจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตปกติได้ หัตถการการใช้สายสวนสลายพังผืดจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานการรักษาของประเทศไทย ตลอดจนมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การให้บริการหัตถการ PEA จำเป็นต้องมีความพร้อมของบุคลากร ซึ่งในปัจจุบันหัตถการดังกล่าวมีการบริการเฉพาะในโรงพยาบาลในระแวกของกรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของการให้บริการด้วยหัตถการ PEA

 

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้รับมอบหมายจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ให้ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ ประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ และประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการใช้หัตถการ PEA ในกลุ่มผู้ป่วยโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า  โดยการศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ Markov เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลลัพธ์ของหัตถการการใช้สายสวนสลายพังผืดในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่มีสาเหตุจากโรคช่องประสาทไขสันหลังตีบแคบและผู้ป่วยที่มีภาวะปวดไม่หายขาดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวโดยเปรียบเทียบการรักษาแบบมาตรฐานและการรักษาด้วยการใช้ยาฉีดสเตียรอยด์เข้าช่องเหนือเยื่อไขสันหลังชั้นนอกและศึกษาประเมินผลกระทบด้านงบประมาณที่มีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีก 5 ปีข้างหน้ากรณีบรรจุหัตถการ PEA หรือ ESI เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์