logo

รหัสโครงการ

65073058HM007L4

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 1065 คน

วันที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2565 03:36

เกี่ยวกับโครงการ

เทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีการดูแลสุขภาพของประชาชนไทย โดยในปัจจุบันเกิดความต้องการใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ทั้งหน่วยงานภาครัฐและผู้ให้บริการภาคเอกชน จึงเริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและพร้อมให้บริการ โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการขยายบริการระบบการติดตามผลการรักษาทางไกล สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดฝัง ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพ การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระบวนการประเมินเทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพ การศึกษานี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาจากการสำรวจรายการอุปกรณ์และคุณสมบัติของเครื่องกรื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดฝังที่มีการขึ้นทะเบียนและจำหน่ายในประเทศไทย พบว่า มี 4 บริษัท ที่นำเข้าและจำหน่ายเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดฝัง และมีระบบติดตามทางไกล โดยรูปแบบการเชื่อมต่อข้อมูลสำหรับระบบติดตามทางไกล แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ระบบติดตามทางไกลที่โรงพยาบาลเครือข่าย และ 2) ระบบติดตามทางไกลที่บ้าน นอกจากนี้ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการขยายบริการระบบติดตามทางไกล พบว่า การดำเนินงานในปัจจุบันเป็นการดำเนินงานในลักษณะโครงการของโรงพยาบาลเอง ไม่มีงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขและไม่มีการกำหนดอัตราเบิกจ่ายค่าบริการดังกล่าวที่ชัดเจน ทั้งนี้ การให้บริการในประเทศไทยยังเป็นรูปแบบการบริการที่โรงพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบ และระบบการจัดการข้อมูลยังไม่ได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล แต่เป็นระบบการจัดการข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบคลาวด์บนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระยะไกลของบริษัทเอกชน และจากการสัมภาษณ์และสอบถามผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยบางกลุ่มมีความต้องการใช้ระบบติดตามทางไกล แต่ยังต้องการพบแพทย์ที่โรงพยาบาลร่วมด้วย โดยผู้ป่วยบางกลุ่มมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบการติดตามทางไกล ในขณะที่ผู้ป่วยบางกลุ่มเข้าใจว่ามีบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง และคาดหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือทันที ภายหลังจากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น