logo

รหัสโครงการ

61133001R1022L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 2370 คน

วันที่เผยแพร่ 7 มิถุนายน 2565 03:13

เกี่ยวกับโครงการ

เมื่อพิจารณาการบำบัดผู้มีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยยา พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงยา disulfiram ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่มีข้อจำกัดในการใช้ยา กล่าวคือ หากใช้ยาขณะที่ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดอาการไม่สุขสบาย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นต้น จึงทำให้ใช้ยา disulfiram หลังจากผู้ป่วยหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพ้นระยะการถอนพิษเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วและต้องมีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงคู่มือ American Psychiatric Association (APA) มีข้อแนะนำให้ใช้ยา disulfiram สำหรับรักษาผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับ moderate to severe alcohol use disorder โดยมีเป้าหมายเพื่อหยุดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการใช้ยา disulfiram จะใช้ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองและ/หรือไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ยา naltrexone และ acamprosate รวมถึงจะต้องใช้กับผู้ป่วยที่มีความเข้าใจต่อความเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะรับ disulfiram และเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยานี้  ขณะที่ ยา naltrexone เคยขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2540 แต่บริษัทผู้ประกอบการได้ขอแจ้งเลิกทะเบียนตำรับยาเมื่อปี พ.ศ. 2555 และที่ยา acamprosate ไม่เคยขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหลักฐานวิชาการที่แสดงให้เห็นว่าทั้งยา naltrexone และ acamprosate มีประสิทธิผลในการป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำ ดังนั้นการมียา naltrexone และ acamprosate ในประเทศไทยเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วย จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย แต่ยังขาดการศึกษาเชิงระบบเพื่อสนับสนุนและทำให้มียาใช้ในประเทศไทย การศึกษานี้มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบำบัดผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยยา ทั้งในมิติทางเศรษฐศาสตร์และมิติทางระบบบริการ (ดังกรอบแนวคิดการวิจัย) มิติทางเศรษฐศาสตร์ครอบคลุมต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยตรง เช่น ต้นทุนค่ายา ต้นทุนค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจการทำงานของตับและไต ต้นทุนการรักษาภาวะการติดสุราและโรคแทรกซ้อน ต้นทุนการบำบัดทางจิตสังคม การดูแลและฟื้นฟูโดยโรงพยาบาล เป็นต้น ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลภายนอกโรงพยาบาลจากการเดินทางของผู้ป่วยและผู้ดูแล ค่าที่พักใกล้โรงพยาบาลกรณีผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องเดินทางล่วงหน้า รวมถึงค่าใช้จ่ายดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผลลัพธ์ที่สนใจในการศึกษานี้ประกอบด้วยปีชีวิตและปีสุขภาวะของผู้ป่วย และความคุ้มค่าโดยเปรียบเทียบอัตราส่วนต้นทุนและผลลัพธ์ทางสุขภาพที่แตกต่างกันระหว่างกรณีที่ใช้ยา naltrexone หรือ acamprosate ร่วมกับการบำบัดทางจิตสังคม และการใช้ยา disulfiram ร่วมกับการบำบัดทางจิตสังคม รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณที่เกิดขึ้นกับรัฐบาล หากมีการบรรจุยาดังกล่าวในบัญชียาหลักแห่งชาติ

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว