logo

รหัสโครงการ

63311040RM032L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

ยุทธศาสตร์
หน่วยงานสนับสนุน
Country

ระยะเวลาโครงการ

เริ่ม: 18 สิงหาคม 2563
สิ้นสุด: 8 พฤษภาคม 2565

ติดต่อ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 1057 คน

วันที่เผยแพร่ 20 สิงหาคม 2563 03:37

เกี่ยวกับโครงการ

  • อันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งก่อให้เกิดการเสียชีวิตและสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability-Adjusted Life Years: DALYs) ทั่วโลก เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์ในระดับนานาชาติจึงกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกตระหนักถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและให้ความสำคัญในการพัฒนานโยบายและการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยในทุกระดับ ทั้งนโยบายระดับประเทศ กฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ ยุทธศาสตร์ แนวทาง การปฏิบัติ และระบบสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพและสอดคล้องกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal health coverage)
  • เมื่อปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยได้ประกาศยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (Patient and Personnel Safety หรือ 2P Safety) ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) จากนั้น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ เนื่องจากโดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสิ้นสุดระยะแรกลงในปี พ.ศ. 2564 จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการประเมินความก้าวหน้าและผลของการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดระยะเวลา 4 ปีอย่างเป็นระบบ
  • ตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2563 สถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยมีแนวทางปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลในด้านต่างๆ เพื่อที่จะสามารถให้บริการผู้ติดเชื้อ COVID-19 และผู้มารับบริการโรคอื่นๆ ได้อย่างเพียงพอ ข้อแนะนำและแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ในสถานพยาบาลสอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขที่โรงพยาบาลหลายแห่งได้นำไปปรับให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ซึ่งการดำเนินงานตามยุทธศาตร์ฯ อาจมีส่วนช่วยสนับสนุนสถานพยาบาลในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อ COVID-19 ดังนั้น จึงควรมีการประเมินว่าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ นี้ มีส่วนช่วยสนับสนุนได้มาก/น้อยเพียงใด และอย่างไร รวมถึงควรมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเครื่องมือหรือกลไกที่ช่วยสนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเพื่อเตรียมพร้อมและรับมือต่อสถานการณ์เช่นนี้ในอนาคต

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว