logo

รหัสโครงการ

64271011RM001L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 2417 คน

วันที่เผยแพร่ 20 พฤษภาคม 2564 07:41

เกี่ยวกับโครงการ

การจัดกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์แบบครบวงจร ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการ ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา ภายใต้ชื่อโครงการ “การศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือ Universal Coverage Benefit Package: UCBP โดยในปี พ.ศ. 2563 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program: HITAP) ได้รับมอบหมายให้เป็นเป็นทีมวิชาการดำเนินโครงการ เนื่องจาก HITAP เป็นหน่วยงานที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment: HTA) ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีประสบการณ์ในการดำเนินงานของโครงการ UCBP ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 สามารถประสานระหว่างทีมวิจัยกับผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ โดยมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการให้มีความเหมาะสมและเข้าถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเสนอหัวข้อปัญหาฯ เพื่อให้กระบวนการมีความเป็นระบบ น่าเชื่อถือ โปร่งใส ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เชี่ยวชาญตลอดทั้งกระบวนการ การดำเนินงานของกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นระบบ มีความโปร่งใส เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานเชิงวิชาการ โดยผ่านการประสานงานและการสนับสนุนจากสำนักงานปลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. และ 2) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ UCBP ให้เป็นช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลขั้นตอนกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เป็นปัจจุบัน โดยโครงการ UCBP เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
  1. การเสนอหัวข้อปัญหาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 7 กลุ่ม คือ ผู้กำหนดนโยบาย, ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์, นักวิชาการด้านสาธารณสุข, อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์, ผู้ป่วย ประชาชน ประชาสังคม, นวัตกรรมทางการแพทย์, และคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  2. การพิจารณาคัดเลือกหัวข้อปัญหาฯ ตามเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 6 เกณฑ์
  3. การศึกษาวิจัย โดยมีรูปแบบการศึกษาได้ 2 รูปแบบ คือ 1) การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment: HTA) และ 2) การประเมินแบบรวดเร็ว (rapid assessment)
  4. การพิจารณาและตัดสินใจเป็นสิทธิประโยชน์