logo

รหัสโครงการ

63291001RM031L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

กุนที พลรักดี

รายละเอียดโครงการ

ยุทธศาสตร์
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานสนับสนุน
คำค้น
ระยะเวลาโครงการ

เริ่ม: 1 สิงหาคม 2563
สิ้นสุด: 31 มกราคม 2565

ติดต่อ

สถานะงานวิจัย

กำหนดโครงร่างวิจัย - 35%

จำนวนผู้เข้าชม: 1125 คน

วันที่เผยแพร่ 4 ธันวาคม 2563 01:51

เกี่ยวกับโครงการ

การดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีความซับซ้อนมากกว่าการรักษาที่มักเป็นมาตรการเดี่ยวเพื่อรักษาโรค/อาการเฉพาะ ความซับซ้อนของการดำเนินมาตรการดังกล่าว เช่น ต้องมีส่วนร่วมจากหลายหน่วยงาน ดำเนินการเป็นชุดโครงการซึ่งมีมากกว่าหนึ่งมาตรการ มีเป้าหมายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพหลายปัจจัยร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะของ “มาตรการที่ซับซ้อน” (complex intervention) คือ มาตรการที่มีหลายองค์ประกอบซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นอาจเป็นอิสระต่อกันหรือมีความสัมพันธ์กันโดยไม่สามารถระบุรูปแบบความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยากในการระบุว่าองค์ประกอบใดของมาตรการที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล ทั้งนี้ อาจมีได้หลายผลลัพธ์และเกิดขึ้นได้ในหลายระดับ เช่น บุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน และประเทศ โดยมีวิถีทางอันเป็นสาเหตุให้เกิดผลลัพธ์ (casual pathway) ที่หลากหลายและซับซ้อน นอกจากนี้ บริบทแวดล้อมสามารถส่งผลต่อกระบวนการและผลลัพธ์ได้ เช่น วัฒนธรรมในท้องถิ่น ความเชื่อทางสังคม และระบบการบริหารจัดการรูปแบบเดิมที่มีอยู่ก่อนมีมาตรการ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้มีความท้าทายของการประเมินมาตรการสุขภาพที่ซับซ้อน เนื่องจากผลลัพธ์ที่เกิดใช้เวลานานทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินมาตรการกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ อิทธิพลจากปัจจัยบริบทหรือการมีนโยบายอื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกันจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากมาตรการนั้น ด้วยความซับซ้อนดังกล่าวทำให้มีความท้าทายในการประเมินทั้งด้านประสิทธิผล กระบวนการและความคุ้มค่าทางสาธารณสุข โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่ออธิบายกระบวนการของนโยบายสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายต่อการยอมรับนโยบายเพื่อดำเนินการในประเทศไทย 2. เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของตัวแสดง (actors) และบริบท (context) ที่มีอิทธิผลต่อเนื้อหาของนโยบาย (content) และกระบวนการพัฒนานโยบายในแต่ละขั้นตอน 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการนำ HTA ไปใช้เป็นเครื่องมือในการบวนการนโยบาย 4. เพื่อประเมินกระบวนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ และความสำคัญของงานวิจัยด้าน HTA ที่ใช้ในการประเมินเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน 5. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการนำ HTA ไปใช้ในกระบวนการนโยบาย การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย/มาตรการเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน ผลการศึกษานี้คาดว่าจะนำเสนอต่อผู้บริหารของ สสส. และผู้กำหนดนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความตระหนัก (awareness) ต่อความสำคัญของการใช้ HTA ในการพัฒนานโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งการสร้างความตระหนักดังกล่าวให้เกิดแก่ผู้กำหนดนโยบายนับเป็นผลสัมฤทธิ์ชั้นกลางของการใช้หลักฐานทางวิชาการในการกำหนดนโยบาย