logo

รหัสโครงการ

63231002RM 023L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

ยุทธศาสตร์
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานสนับสนุน
คำค้น
Country

ระยะเวลาโครงการ

เริ่ม: 1 กรกฎาคม 2563
สิ้นสุด: 31 ตุลาคม 2563

ติดต่อ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3829 คน

วันที่เผยแพร่ 4 สิงหาคม 2563 11:37

เกี่ยวกับโครงการ

ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีกลุ่ม direct acting antiretrovirals (DAAs) เป็นหนึ่งในยาที่มีราคาแพงมาก ก่อให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อผู้ป่วยและเป็นภาระงบประมาณจำนวนมากต่อภาครัฐ จากการศึกษาของวรัญญา รัตนวิภาพงษ์ และคณะ พบว่าการปรับเปลี่ยนยาเพื่อรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีจากเดิมที่ใช้ยาสูตร peginterferon ร่วมกับยา ribavirin (PR) มาเป็นสูตรที่ใช้ร่วมกับยา sofosbuvir (SOF) รัฐต้องลงทุนค่ายาเพิ่มขึ้น 237 ล้านบาท เพื่อให้การรักษาแก่ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาใช้ยา SOF เป็นพื้นฐานการรักษาจะทำให้รัฐลงทุนกับค่าตรวจประเมินทางห้องปฏิบัติการลดลง 28 ล้านบาท การลดลงในส่วนนี้เป็นผลมาจากการติดตามผลทางห้องปฏิบัติการที่น้อยลง เนื่องจากผู้ป่วยได้รับยาในระยะเวลาที่สั้นขึ้น ข้อมูลประสิทธิผลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ยา sofosbuvir/velpatasvir (SOF/VEL) มีประสิทธิผลที่ดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบัน รวมถึงเป็นยาที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีได้ทุกสายพันธุ์ทำให้ไม่ต้องมีการตรวจหาสายพันธุ์ และมีราคายาไม่ต่างกันมาก ข้อมูลเหล่านี้แสดงว่ายาแนวโน้มที่จะคุ้มค่ากว่าสูตรการรักษาในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยา SOF/VEL ยังเป็นยารับประทานที่ใช้เวลาในการรักษาเพียง 12 สัปดาห์ ไม่เหมือนกับสูตรรักษาเดิมที่แม้จะมีการให้ sofosbuvir แต่การให้ยา peginterferon alfa ก็ยังเป็นวิธีฉีด ที่ต้องอาศัยการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งยารับประทานจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากกว่า นอกจากนี้ ข้อมูลจากรายงานการประชุมคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 วันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ยังได้รายงานถึงปัญหาของการจัดการยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ดังนี้
    1) peginterferon alfa-2a และ -2b มีจำนวนลดลง โดยยา peginterferon alfa-2a มีเหลือจำหน่ายโดยผู้ผลิตเพียง 3,000 ขวดเท่านั้น (หมดอายุวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 – ข้อมูลเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562) ในขณะที่ยา peginterferon alfa-2b มีเหลือจำหน่วยประมาณ 10,000 ขวด ในระยะเวลา 2 ปี เมื่อพ้นปี พ.ศ. 2565 ไปแล้ว อาจไม่มียาตัวนี้จำหน่ายในประเทศไทยอีกต่อไป
    2) การจัดซื้อยา ribavirin ในอดีต เป็นการได้รับมาฟรีพร้อมกับยา peginterferon ทำให้ไม่มีการกำหนดราคากลางของยา และมีผู้นำเข้าเพียง 2 บริษัท อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรมได้มีการผลิตยา ribavirin ออกจำหน่าย และมีกำหนดราคากลางเรียบร้อยแล้ว
    3) ยา SOF/VEL (400 มิลลิกรัม + 100 มิลลิกรัม) ในรูปแบบ tablet ได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรียบร้อยแล้ว โดยมีการขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 2 ตำรับ โดยเป็นยาต้นแบบตำรับหนึ่ง และเป็นยาชื่อสามัญอีกตำรับหนึ่ง
จากสถานการณ์ข้างต้น คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแหงชาติ พ.ศ. 2559-2562 จึงได้มีมติมอบหมายให้คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขจัดทำข้อมูลเภสัชเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ การวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของการใช้ยา SOF/VEL ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี เพื่อประกอบการตัดสินใจในการคัดเลือกยา SOF/VEL เข้าสู่บัญชียาหลักแหล่งชาติ และจัดเตรียมภาระงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการจัดบริการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีให้แก่ผู้ป่วยโดยใช้ยา SOF/VEL โดยให้คำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้
  • ราคายาในประเทศไทย
  • การเพิ่มขึ้นของ drug accessibility ที่มากกว่าสูตรการรักษาเดิม
  • ค่าใช้จ่ายที่ลดลงของการใช้ทรัพยากรของการตรวจ genotype และ fibroscan®
  • ระยะเวลาของการรักษาที่แตกต่างกันของสูตรยาแต่ละสูตร