ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรคนพิการที่ดำเนินงานตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการเพียงไม่กี่แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ (Independent Living Center) โดยเป็นองค์กรที่จัดตั้งและบริหารงานโดยคนพิการในรูปแบบหน่วยงานเอกชนที่มิได้แสวงหาผลกำไร ขับเคลื่อนงานโดยยึดหลักแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ (Independent Living Concept) มาใช้ในการทำงาน มีเป้าหมายที่จะทำให้คนพิการทุกคนดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระและพัฒนาคุณชีวิตของคนพิการ โดยมีบริการหลัก 5 อย่าง ประกอบด้วย 1) ให้ข้อมูลข่าวสารและการส่งต่อ 2) การให้คำปรึกษาฉันเพื่อน แบบตัวต่อตัว และแบบกลุ่มสนับสนุน 3) การฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระ 4) การพิทักษ์สิทธิ์ และ 5) บริการผู้ช่วยคนพิการ ซึ่งการให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเป็นบริการที่เป็นหัวใจหลักขององค์กรคนพิการที่ทำงานตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการเพียงบางแห่งที่ปรับรูปแบบบริการการให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเป็นแบบเชิงรุก ซึ่งแต่ละแห่งอาจมีวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ตลอดจนไม่ได้มีการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเชิงรุก ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิจัยเรื่อง “ระบบการให้บริการ การให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเชิงรุกในชุมชนโดยองค์กรคนพิการ” เพื่อศึกษารูปแบบหรือวิธีการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการให้บริการให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเชิงรุกของศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ รวมไปถึงศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการให้บริการการให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเชิงรุก เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการผลักดันนโยบายการให้บริการการให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเชิงรุกในชุมชนโดยองค์กรคนพิการ รวมถึงพัฒนาระบบบริการการให้คำปรึกษาฉันเพื่อนเชิงรุกในชุมชนเพ่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนพิการในชุมชน
ที่ปรึกษา
ดร. ภญ.ศรีเพ็ญ ตันติเวสส,
สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล,
ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข
และวิไลลักษณ์ แสงศรี