logo

รหัสโครงการ

201-110-2554

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3196 คน

วันที่เผยแพร่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 18:07

เกี่ยวกับโครงการ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำการหา ค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะของประชากรไทย สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเชิงนโยบายในการจัดสรรทรัพยากรในระบบสุขภาพสำหรับผู้บริหาร ในปี 2551 ภายใต้โครงการ “การศึกษาบรรทัดฐานการประเมินคุณค่าของสังคมต่อการลงทุนทางการแพทย์และสาธารณสุข” HITAP ได้ทำการสำรวจประชาชนไทยจำนวน 1,191 คนจาก 9 จังหวัด โดยใช้สถานการณ์สมมติ 3 สถานการณ์ ได้แก่ ตาบอด อัมพาตและภูมิแพ้ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าวพบว่า ความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะสำหรับการรักษาและป้องกันมีค่าอยู่ระหว่าง 55,000 – 265,000 บาท และ 10,000 – 50,000 บาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวมีข้อจำกัดหลายประการซึ่งประเด็นที่สำคัญได้แก่ ขนาดตัวอย่าง ความเป็นตัวแทนของประชากรไทยตลอดจนผลกระทบจากสถานการณ์สุขภาพที่ใช้ในการศึกษาและผลกระทบจากเพดานความสามารถในการจ่าย (Ceiling effect) โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยใหม่ที่ทำขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจำกัดจากการศึกษาในครั้งก่อน ผลจากการศึกษาจะทำให้ได้ค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะของประชากรไทยที่มีความถูกต้องในเชิงวิชาการมากขึ้นโดยไม่ได้มีความพยายามที่จะนำค่าที่ได้จากประเทศอื่น (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) มาใช้ในบริบทของสังคมไทยแต่ในทางตรงข้ามจะนำมาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนหรือต่างของข้อค้นพบที่ได้ในแต่ละประเทศ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและมาเลเซีย ซึ่งมีการพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยร่วมกันโดยนักวิจัยจากแต่ละประเทศอันเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันทางวิชาการและยังเป็นการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในภูมิภาคอีกด้วย ทั้งนี้ผลที่ได้จากการศึกษายังจะทำให้ทราบถึงคุณค่าที่ประชากรมีต่อทั้งมาตรการในการรักษาและป้องกันปัญหาสุขภาพว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากพบว่าคุณค่าที่ประชากรให้สำหรับมาตรการการป้องกันมีค่าต่ำกว่ามาตรการรักษาเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการในการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันในประชากรให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่ทรัพยากรมีจำกัดนั้นแม้ประเด็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจแต่ยังคงมีปัจจัยอื่นๆ ที่ผู้บริหารยังคงต้องคำนึงถึงอีกด้วย เช่น จริยธรรม ความเท่าเทียม ตลอดจน ความเคลื่อนไหวในสังคม เป็นต้น