logo

รหัสโครงการ

201-357-2554

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง

นักวิจัยร่วม

นพ.สุรพล อริยปิติพันธ์

นพ.อุดม ไกรฤทธิชัย

พญ.ปิยะธิดา จึงสมาน

รายละเอียดโครงการ

ยุทธศาสตร์
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานสนับสนุน
คำค้น
Country

ระยะเวลาโครงการ

เริ่ม: 2 ตุลาคม 2557
สิ้นสุด: 2 ตุลาคม 2557

ติดต่อ

สถานะงานวิจัย

ตรวจสอบผลวิจัย - 98%

จำนวนผู้เข้าชม: 4145 คน

วันที่เผยแพร่ 30 ธันวาคม 2554 10:57

เกี่ยวกับโครงการ

ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกรายในประเทศไทย สามารถเข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึงแม้ว่ามีรายงานระบุว่าการให้บริการบำบัดทดแทนไตไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนทางการแพทย์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายของการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธี CAPD และ HD ต่อปีสุขภาวะ มีมูลค่ามากกว่า 3 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก โดยในสิทธิการรักษาในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะได้กับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis; CAPD) เป็นทางเลือกแรก (CAPD first-policy) เนื่องจากผลการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในประเทศไทย ได้ระบุว่า การให้ CAPD มีความคุ้มค่ามากกว่าการให้ HD โดยการศึกษาดังกล่าวได้ระบุถึงความจำกัดของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความคุ้มค่า นอกจากประเด็นความคุ้มค่าที่ใช้ในการตัดสินใจแล้ว การให้ CAPD จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ดูแลตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการที่สถานพยาบาล เพราะผู้ป่วยสามารถทำการล้างไตได้เองที่บ้าน
จากการดำเนินให้บริการทดแทนไตเทียมมาเป็นเวลา 3 ปี ได้มีการศึกษาถึงระบบการให้บริการล้างไตทางช่องท้องตามนโยบายนี้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาที่ทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลและต้นทุนการให้บริการของการให้บริการ CAPD และ HD รวมทั้ง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ระหว่างวิธี CAPD และ HD ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการประเมินผลสำเร็จของโครงการ และศึกษาความคุ้มค่าของการให้บริการบำบัดทดแทนไต เพื่อใช้ในการตัดสินใจการให้บริการบำบัดทดแทนไต ในบริบทปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างจากก่อนเริ่มโครงการ