logo

รหัสโครงการ

11-303-2554

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ภญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์

ผศ. พญ.กลีบสไบ สรรพกิจ

รศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง

รศ. นพ.ปัญญา เสกสรรค์

พ.อ. รศ.นพ.รัชฏะ ลำกูล

รศ. นพ.สุรพล เวียงนนท์

ผศ. ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 2611 คน

วันที่เผยแพร่ 16 ธันวาคม 2554 10:12

เกี่ยวกับโครงการ

การศึกษาเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์แบบการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-utility analysis) ของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในบริบทของประเทศไทยเพื่อเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนและผลลัพธ์ส่วนเพิ่มระหว่างการปลูกถ่ายฯ จากผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดซึ่งเป็นพี่น้อง (Related HSCT) และจากผู้บริจาคที่ไม่ใช่พี่น้อง (Unrelated HSCT) เปรียบเทียบกับการรักษาแบบมาตรฐานในปัจจุบัน คือ การให้เลือดและยาขับเหล็กชนิดฉีด พบว่า การปลูกถ่ายฯ จากผู้บริจาคซึ่งเป็นพี่น้องมีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทยในผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี อย่างไรก็ตามยังมีความจำกัดด้านผู้ให้บริการที่สามารถให้บริการได้ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ทำให้มีผู้ป่วยเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการปลูกถ่ายฯ ในปัจจุบัน จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการดำเนินการ (Implementation) ของนโยบายที่จะบรรจุการปลูกถ่ายฯ ไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการที่จำกัดนี้อย่างเท่าเทียมกันทั้งหมดได้ การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) จากข้อมูลของการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการปลูกถ่ายฯ ยังไม่ครอบคลุมในทุกประเด็นที่ผู้บริหารสนใจ จึงจำเป็นต้องพิจารณาผลการศึกษาในด้านความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รวมถึงประเด็นด้านจริยธรรมและความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจเชิงนโยบายในการบรรจุการปลูกถ่ายฯ เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

เอกสารเพิ่มเติม

โครงร่างวิจัย

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว