logo

รหัสโครงการ

201-347-2553

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

ทพญ.อุษณา ตัณมุขยกุล

นักวิจัยร่วม

ภญ.ศิตาพร ยังคง

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3732 คน

วันที่เผยแพร่ 27 ธันวาคม 2554 17:57

เกี่ยวกับโครงการ

หัวข้อเรื่อง "การพัฒนาระบบการคัดกรองทางสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชน" ได้รับการจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยในระบบสุขภาพของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553 ให้เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 จาก 120 หัวข้อที่ถูกเสนอเข้ามาจาก 66 หน่วยงาน การคัดกรองสุขภาพในชุดสิทธิประโยชน์ของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพมีความเหลื่อมล้ำ มีการทำตลาดเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น ซึ่งแต่ละชุดโปรแกรมมีราคาแพงและรายการตรวจคัดกรองอาจไม่สมเหตุผล การคัดกรองทางสุขภาพของไทย งานวิจัยส่วนใหญ่ที่ทำในประเทศไทยเป็นการศึกษาการคัดกรองทางสุขภาพรายโครงการ ขาดการศึกษาการคัดกรองทางสุขภาพอย่างเป็นระบบ ดังนั้นควรมีการศึกษาเพื่อทบทวนโครงการหรือมาตรการคัดกรองทางสุขภาพของไทยในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร มีผลการดำเนินงานเป็นเช่นไร เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะระบบการคัดกรองทางสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนไทยที่มีความโปร่งใส เกิดจากการมีส่วนร่วม และได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมีความยั่งยืน ซึ่งการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.ศึกษาระบบคัดกรองทางสุขภาพในประเทศที่พัฒนาแล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สเปน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในด้านโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ การบริหารงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายการคัดกรองสุขภาพ การจัดสรรงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน การประเมินโครงการหรือมาตรการด้านการคัดกรองทางสุขภาพเพื่อคัดเลือกและดำเนินโครงการหรือมาตรการที่เหมาะสม

2.ศึกษาระบบคัดกรองทางสุขภาพที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยจากกรณีศึกษา 4 โครงการคัดกรองทางสุขภาพ ได้แก่ โครงการคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด โครงการคัดกรองเด็กนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ โครงการคัดกรองโรคเมตาบอลิก และโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของแต่ละโครงการ หน้าที่และบทบาทของผู้รับผิดขอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการ ผลการดำเนินงาน การจัดสรรงบประมาณ แล้ววิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของการคัดกรองทางสุขภาพของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

3. ประเมินมูลค่าตลาดของการคัดกรองทางสุขภาพ

วิธีการศึกษาใช้การทบทวนเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง สนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาระบบการคัดกรองทางสุขภาพที่เหมาะสม ได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย และได้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการคัดกรองทางสุขภาพที่รวบรวมอย่างเป็นระบบ