logo

รหัสโครงการ

07-301-2552

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ดร.วณิชยา กิตติไกรศักดิ์

ภญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์

Dr. Sara Whitehead

ศิริญญา ธีระอนันต์ชัย

ผศ.ดร.ลี่ลี อิงศรีสว่าง

ศ.ดร.นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3421 คน

วันที่เผยแพร่ 21 ธันวาคม 2554 18:30

เกี่ยวกับโครงการ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคปอดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 3 วิธีได้แก่ 1) แนวทางปฏิบัติในปัจจุบันจากแผนงานวัณโรคแห่งชาติ 2) แนวทางจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และ 3) แนวทางการดำเนินงานใหม่ที่เสนอโดยศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข (Thailand Ministry of Public Health - U.S. Centers for Disease Control and Prevention Collaboration-TUC) โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพและผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปปีสุขภาวะ (QALY) ของการคัดกรองและวินิจฉัยแต่ละแบบ แนวทางการคัดกรองและวินิจฉัยที่เสนอโดย TUC ได้แนะนำการเพาะเลื้ยงเชื้อวัณโรคจากเสมหะของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ 1) มีผลลบจากการการย้อมเสมหะ (Acid fast baciili; AFB) และตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์และ 2) ผู้ป่วยที่มีเงาผิดปกติของภาพรังสีทรวงอกที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรคหรือผู้ป่วยที่มีภาพถ่ายรังสีทรวงอกปกติแต่มีระดับ CD4 น้อยกว่า 350 cells/mm3 ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน (แผนงานวัณโรคแห่งชาติ) แนวทางใหม่ที่เสนอโดย TUC โดยเลือกการเพาะเลื้ยงเชื้อวัณโรคจากเสมหะในอาหารเหลวตั้งแต่ 1-3 ครั้ง เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยวัณโรค จะช่วยประหยัดงบประมาณของผู้ให้บริการและยังได้ปีสุขภาวะของผู้ป่วยที่มากขึ้น เนื่องจากสามารถลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ต้องรักษา (ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น) และการลดลงของผู้ที่ได้ผลบวกลวงจากการคัดกรองวัณโรค