logo

รหัสโครงการ

02-103-2550

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

-

นักวิจัยร่วม

ภญ.สิรินทร์ นาถอนันต์

วันทนีย์ กุลเพ็ง

เชิญขวัญ ภุชฌงค์

ภญ.พิศพรรณ วีระยิ่งยง

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3134 คน

วันที่เผยแพร่ 29 พฤศจิกายน 2554 11:57

เกี่ยวกับโครงการ

จากการที่ทรัพยากรต่างๆ รวมถึงทรัพยากรทางสุขภาพมีอยู่อย่างจํากัด หลักการทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขโดยเฉพาะการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล (Cost-Effectiveness Analysis) จึงได้ถูกนํามาใช้ในการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุขมากขึ้นทั้งยังจัดเป็นเครื่องมือที่สําคัญสําหรับผู้บริหารในการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรในระบบสุขภาพ ของ ยา เครื่องมือแพทย์ตลอดจนเทคโนโลยีทางสุขภาพอื่นๆ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขมักจะถูกนําเสนอในรูปของต้นทุนต่อหน่วยของผลลัพธ์ทางสุขภาพ เช่น บาทต่อปีที่มีคุณภาพชีวิต (Baht per quality-adjustedlife-year) ซึ่งผู้บริหารจําเป็นต้องตัดสินใจว่า การลงทุนที่เท่าไรต่อปีที่มีคุณภาพชีวิต (Quality-adjusted life year: QALY) จึงจะจัดว่ามีความคุ้มค่าและเหมาะสมในบริบทของประเทศไทย ในปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขสากลที่ใช้เป็นเกณฑ์หรือเพดาน (ceiling threshold) สําหรับการตัดสินใจว่าการลงทุนที่คุ้มค่าควรจะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับเท่าใดต่อปีที่มีคุณภาพชีวิต ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เกณฑ์หรือเพดานที่ US$ 50,000 ต่อปีสุขภาวะ (US$ 50,000/Quality-adjusted life-year) ในการประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับความคุ้มค่าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเทคโนโลยีใดที่มีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์แล้ว พบว่ามีค่าต้นทุนต่อปีที่มีคุณภาพชีวิต (QALY) น้อยกว่าหรือเท่ากับ US$ 50,000 จะจัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่า สําหรับประเทศกําลังพัฒนานั้นองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนําให้ใช้ 3 เท่าของผลผลิตประชาชาติต่อหัวประชากร (GDP per capita) เป็นเพดาน(ceiling threshold) ในการประกอบการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้อาจไม่สะท้อนความเป็นจริงในแต่ละประเทศ และอาจใช้ไม่ได้กับทุกสถานการณ์สุขภาพ เช่น การป้องกันและการรักษาโรค การวัดความเต็มใจจ่าย (Willingness to pay) สามารถกระทําโดยการจําลองสถานการณ์สุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นและสอบถามถึงจํานวนเงินที่ประชาชนยินดีจ่ายเพื่อให้หายจากสภาวะสุขภาพนั้นๆ ซึ่งจํานวนเงินสูงสุดที่ยินดีจ่ายจะสะท้อนถึงคุณค่า (value) ของสุขภาพนั้นๆ จากมุมมองของประชาชนเอง ทั้งนี้ เมื่อมีการวัดอรรถประโยชน์ (Utility) ของสภาวะสุขภาพนั้นๆร่วมด้วยจะทําให้สามารถคํานวณความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะ (Willingness-to-pay per quality-adjusted life-year) ซึ่งสามารถนํามาใช้เป็นเพดาน (Ceiling threshold) สําหรับการตัดสินใจเรื่องความคุ้มค่าของสังคม ต่อการลงทุนทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ต่อไป

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว