logo

รหัสโครงการ

01-402-2550

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รายละเอียดโครงการ

ยุทธศาสตร์
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
Country
ระยะเวลาโครงการ

เริ่ม: 19 กุมภาพันธ์ 2567
สิ้นสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2571

ติดต่อ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 2040 คน

วันที่เผยแพร่ 30 พฤศจิกายน 2554 09:53

เกี่ยวกับโครงการ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการที่ดำเนินการอยู่ในหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพในประเทศต่างๆ วิธีการศึกษา รวบรวมเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ผ่านระบบสืบค้น MedLine, Google Scholar ตลอดจนเว็บไซต์ที่เป็นทางการของหน่วยงานนำมาศึกษา หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกหน่วยงานประกอบด้วย (1) หน่วยงานประเมินฯ นั้น เป็นหน่วยงานในระดับประเทศ และเป็นหน่วยงานไม่แสวงผลกำไร (2) สามารถสืบค้นข้อมูลของหน่วยงานได้จากแหล่งข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ และ (3) ข้อมูลที่เข้าถึงได้นั้นต้องเป็นภาษาอังกฤษ ในขั้นตอนสุดท้ายผู้วิจัยคัดเลือกหน่วยงานแบบเจาะจง(Purposive Selection) โดยพิจารณาจากการมีข้อมูลในปริมาณมากพอและเป็นประโยชน์ ในการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เป็นวิธีการหลัก ผลการศึกษา หน่วยงานประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพที่ผู้วิจัยคัดเลือกเข้ามาในการศึกษานี้ประกอบด้วยหน่วยงานใน 10 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์กสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้ กระบวนการประเมินที่ดำเนินการอยู่ในหน่วยงานที่นำมาศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนหลัก (1) การคัดเลือกหัวข้อเทคโนโลยีหรือนโยบายมาประเมิน องค์กรที่ทำการประเมินส่วนใหญ่เปิดกว้างให้ผู้ที่เกี่ยวข้องส่งหัวข้อที่ต้องการประเมิน โดยผู้ที่ส่งหัวข้อในการประเมินคือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุข บุคลากรในหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ และบุคคลทั่วไป นอกจากนั้นยังพบว่า เว็บไซด์เป็นช่องทางหลักในการให้ผู้เกี่ยวข้องส่งหัวข้อที่ต้องการให้มีการประเมินเกณฑ์การคัดเลือกที่ใช้อย่างแพร่หลายที่สุดก็คือ เกณฑ์ภาระโรค (Burden of disease) (2) การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพมีการมอบหมายคณะนักวิจัยซึ่งโดยส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญตามสาขาที่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือนโยบายที่นำมาประเมิน ซึ่งอาจเป็นนักวิจัยภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมิน หรือผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิชาการต่างๆ (3) การอนุมัติ/รับรองผลการประเมิน โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อชี้แนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัย กระบวนการในขั้นตอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย (4) การอุทธรณ์ผลการประเมิน มีเฉพาะบางหน่วยงานเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขอบเขตอำนาจของหน่วยงานประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ในส่วนของการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานประเมินเทคโนโลยี/นโยบายด้านสุขภาพควรคำนึง เนื่องจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจะมีผลในวงกว้างทั้งต่อโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน ผลลัพธ์ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข รวมทั้งภาระการเงินการคลังสาธารณะ และผลกำไรและขาดทุนของผู้ประกอบธุรกิจเฉพาะราย

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว