logo

รหัสโครงการ

01-301-2550

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ดร. นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร

ผศ.ดร.สุพล ลิมวัฒนานนท์

ภญ.นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 7261 คน

วันที่เผยแพร่ 11 ธันวาคม 2554 15:32

เกี่ยวกับโครงการ

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมาก โดยคิดเป็น 12 % ของมะเร็งที่เกิดกับสตรีทั่วโลก ในแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 470,000 ราย และผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 233,000 ราย โดย 83% ของผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลหากโรคอยู่ในขั้นลุกลาม การตรวจคัดกรองหาเซลล์ที่ผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีการที่แนะนำในเวชปฏิบัติ โดยทั่วไป ปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย 3 วิธี ได้แก่ papanicolaou (Pap smear) , Direct visual inspection (VIA) และการตรวจ DNA ของ human papillomavirus (HPV DNA) ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งชนิดนี้ นอกจากนี้ ยังมีการริเริ่มนำวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เข้ามาจำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้ง 3 วิธีมีความแตกต่างกันในแง่ของคุณลักษณะข้อดี และข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาใช้ในระบบบริการสุขภาพ รวมทั้ง วัคซีน HPV ก็เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสบการณ์การใช้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระดับประชากรไม่มากนัก สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศและโครงการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยการสนับสนุนจากธนาคารโลกจึงดำเนินการวิจัยเรื่องนี้ขึ้น โดยโครงการวิจัยนี้จัดแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การประเมินสถานการณ์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยในปัจจุบัน ระยะที่ 2 การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของทางเลือกเชิงนโยบายต่างๆ ระยะที่ 3 การวิเคราะห์เชิงนโยบายเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการควบคุมและป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ระยะที่ 4 การศึกษาความต้องการทรัพยากรเพื่อดำเนินการตามกลยุทธ์ที่เหมาะสม  

เอกสารเพิ่มเติม

โครงร่างวิจัย

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว