logo

รหัสโครงการ

61313002R1026L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ภญ.พรธิดา หัดโนนตุ่น

อ. ภก.จิรวิชญ์ ยาดี

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย - 40%

จำนวนผู้เข้าชม: 4937 คน

วันที่เผยแพร่ 1 พฤษภาคม 2562 04:36

เกี่ยวกับโครงการ

การเข้าถึงยา (access to medicine) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่บ่งบอกความสำเร็จของระบบสาธารณสุขในประเทศนั้นๆ สำหรับประเทศไทย คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเห็นถึงความสำคัญของการเข้าถึงยาของประชนไทย โดยเฉพาะยาจำเป็นที่มีราคาแพง ซึ่งราคาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อทั้งภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลในการจัดซื้อยาและครัวเรือนของผู้ป่วยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นจึงได้มีการเพิ่มบัญชียา จ(2) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines: NLEM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาสามารถเข้าถึงยาที่มีราคาแพงได้อย่างเสมอภาค (equity) และเท่าเทียม (equality) [2] ปัจจุบันยังขาดการวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงยาที่มีความจำเป็นในบัญชี จ(2) ซึ่งมีรูปแบบการบริหารเวชภัณฑ์ที่ต่างออกไปจากยาทั่วไปนั้นจำเป็นต้องศึกษาให้ครบถ้วนตลอดทั้งกระบวนการ ที่สามารถสะท้อนการเข้าถึงยาในบัญชี จ(2) ในภาพรวมของประเทศไทย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเข้าถึงยาในบัญชียา จ(2) ของบัญชียาหลักแห่งชาติ รวมถึงข้อจำกัด/ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาในส่วนนี้จะได้จากจากการทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ของทั้ง 3 กองทุน และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง

การศึกษานี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการประเมินติดตามผลการเข้าถึงยาและการใช้ยาในอนาคต โดยจะจัดอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลยาในบัญชียา จ(2) ให้กับตัวแทนจากโรงพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือกและมีความสนใจ รวมถึงให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์ข้อมูล ประเด็นที่ครอบคลุมในการอบรมฯ ครั้งนี้ ได้แก่ การเข้าถึงยา ความเป็นธรรมในการใช้ยา และผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับยาบัญชี จ(2) กลุ่มเป้าหมาย คือ เภสัชกรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการยาในบัญชี จ(2) หรือเจ้าหน้าที่สารสนเทศโรงพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือกและมีความสนใจจำนวนอย่างน้อย 7 แห่ง รวมจำนวนผู้เข้าร่วมประมาณ จำนวน 7-14 คน

นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งในขั้นตอนการคัดเลือกยาเพื่อบรรจุในบัญชียา จ(2) เนื่องจากประเทศไทยที่มีทรัพยากรที่จำกัดทั้งด้านงบประมาณและกำลังคน ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานด้านหลักประกันสุขภาพจึงให้ความสนใจมากขึ้นกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนและผลลัพธ์จากเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ แม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบจัดเก็บข้อมูลการให้บริการทั้งในระดับสถานพยาบาลและระดับประเทศ แต่ยังขาดการนำข้อมูลดังกล่าวมาให้ให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ของการกำกับและติดตามประเมินผลและใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย การศึกษานี้จังมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของยาในบัญชี จ(2) จากการใช้ข้อมูลในสถานการณ์จริง(real-world data) โดยจะเลือกศึกษายากรณีศึกษาจำนวน 2 รายการ