logo

รหัสโครงการ

61063 002R1 009L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

รศ.ดร. พญ.ชนิสา โชติพานิช

นพ.ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์

พญ. อัญชิสา คุณาวุฒิ

พญ.เจษฎาพร พร้อมเที่ยงตรง

Dr. Fatim Lakha

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 2867 คน

วันที่เผยแพร่ 22 สิงหาคม 2561 09:23

เกี่ยวกับโครงการ

เครื่องเพทซีที (Positron emission tomography–computed tomography; PET/CT) เป็นเครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีร่วมกันของเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT) ใช้ในการตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ระดับเมตาบอลิซึม (metabolism) ซึ่งเป็นการถ่ายภาพทางด้านรังสีที่ตรวจวัดอนุภาคโพสิตรอนที่ปล่อยจากตัวผู้ป่วยหลังจากได้รับสารเภสัชรังสีเข้าไปในร่างกาย เพทซีทีเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งทั้งปฐมภูมิและบริเวณที่มีการแพร่กระจาย รวมทั้งการวินิจฉัยการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็ง นอกจากนี้ เพทซีทียังใช้ในการวินิจฉัยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งสมองและระบบประสาท ในปัจจุบันข้อบ่งชี้ (indication) ในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเพทซีทีของประเทศไทยยังไม่เป็นมาตรฐาน ข้อจำกัดในการพัฒนาเกณฑ์ข้อบ่งชี้ในประเทศไทยเป็นไปได้ค่อนข้างยากเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย มีราคาในการตรวจต่อครั้งสูง ผู้ป่วยไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจำนวนมากได้ ส่งผลให้จำนวนการตรวจน้อย อีกทั้งกรณีของโรคค่อนข้างหลากหลายทำให้ยากในการกำหนดมาตรฐาน จึงได้มีการรวบรวมหลักฐานทางวิชาการที่แสดงข้อบ่งชี้อันเหมาะสมของการใช้เพทซีทีจากต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ยุโรป เกาหลี และ อเมริกาเพื่อคัดเลือกข้อบ่งชี้ที่ยืนยันตรงกันนำมากำหนดเป็นมาตรฐานโดยได้จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 และในปี พ.ศ. 2559 เพทซีทีมีประโยชน์อย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ในข้อหลายข้อบ่งชี้ จากการทบทวนวรรณกรรมจึงทำการประเมินความเหมาะสมของข้อบ่งใช้ที่ควรนำมาศึกษาความค่าทางเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบด้านงบประมาณ ทั้งหมด 3 ข้อบ่งใช้ ได้แก่ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก การวินิจฉัยการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง การวินิฉัยการเปลี่ยนระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน นอกจากนี้ การจัดบริการการตรวจวินิจฉัยด้วยเพทซีทีจำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและเครื่องมือ (เครื่องเพทซีทีและสารเภสัชรังสี) ปัจจุบันมีการให้บริการอยู่ในโรงเรียนแพทย์เป็นส่วนใหญ่ มีเครื่องเพทซีทีในโรงพยาบาลรัฐจำนวน 7 เครื่อง โดย 5 เครื่องตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และ 2 เครื่องตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หากมีการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยด้วยเพทซีที จำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดบริการในหลายมิติ ได้แก่ ความสามารถในการรองรับผู้ป่วย ความคุ้มค่าและภาระงบประมาณของการตรวจวินิจฉัยด้วยเพทซีที ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลความพร้อมและข้อมูลคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการให้บริการการตรวจเพทซีที แม้การศึกษาในต่างประเทศพบว่าการตรวจวินิฉัยด้วยเพทซีทีมีความคุ้มค่า แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่อาจนำมาใช้ในประเทศไทยเนื่องจากบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้น การศึกษานี้จึงจะทำการประเมินความคุ้มค่าการตรวจเพทซีที และความเป็นไปได้ในการกำหนดให้มีการจัดการเบิกจ่ายชดเชยการทำเพทซีทีเป็นการเพิ่มเติมจากการจ่ายชดเชยทั่วไปในหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีการเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็นอย่างมีคุณภาพ

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว