logo

รหัสโครงการ

61013036R1001L0

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ผศ.ดร. ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 3391 คน

วันที่เผยแพร่ 23 มกราคม 2561 11:53

เกี่ยวกับโครงการ

โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยภาวะอ้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความดันเลือด (Blood pressure) คลอเรสเตอรอล (Cholesterol) และระดับน้ำตาลในร่างกาย (Glycaemia) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ทั้งนี้การวิเคราะห์อภิมาน พบว่า โรคอ้วนเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง หอบหืด ปวดหลัง ถุงน้ำดี รวมถึง ซึมเศร้า ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียผลิตภาพ (Productivity) และคุณภาพชีวิต รวมทั้งเป็นสาเหตุของการตายก่อนวัยอันควร (Premature mortality) เป็นจำนวนมาก  จากการศึกษาต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคอ้วนในประเทศไทยพบว่ามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 12.14 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศทั้งหมด (national health expenditure)   การควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ในเด็ก  เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการภาวะอ้วนในเด็ก โดยการศึกษานี้จะเน้นไปที่มาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ในเด็ก ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2553 องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้สมาชิกจำกัดการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพต่อเด็ก ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและอาหาร คือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตามพบว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ในการโฆษณาสินค้าโดยทั่วไปซึ่งมักไม่เจาะจงการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาถึงประสิทธิผลของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ในเด็ก และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการดังกล่าวในบริบทของประเทศไทย เพื่อให้ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจด้านนโยบายสาธารณะในอนาคต

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว