logo

รหัสโครงการ

1-3-106-2559

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

ภญ.พรธิดา หัดโนนตุ่น

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 6048 คน

วันที่เผยแพร่ 9 พฤศจิกายน 2559 03:19

เกี่ยวกับโครงการ

ที่มา

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่ ประชากรไทยกว่าร้อยละ 20 ยังคงสูบบุหรี่ โดยส่วนมากเป็นเพศชาย ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกกับมาตรการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เนื่องจากสามารถเข้าถึงประชากรกลุ่มเป้าหมายได้สะดวกและรวดเร็ว ประชากรไทยอายุ 6 ปี ขึ้นไปกว่าร้อยละ 77 มีโทรศัพท์มือถือ การวิจัยในต่างประเทศพบว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพมีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการช่วยเลิกบุหรี่ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวได้รับการทดสอบในบริบทของประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งมาตรการเหล่านี้มักเป็นมาตรการที่ซับซ้อน (complex intervention) ไม่ได้มีการระบุเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (behaviour change technique) ประกอบกับไม่ได้มีการศึกษาว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านใดที่มีประโยชน์มากกว่ากัน

วัตถุประสงค์ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทดสอบว่าการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือมีผลต่อการรับบริการเลิกบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติและการตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ และวัตถุประสงค์รองคือทดสอบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านใดที่มีความสำคัญมากกว่ากัน

ระเบียบวิธีวิจัย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental design) แบบ 2³ แฟคเทอเรียล (2³ full factorial) โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัคร คือ 1) ผู้สูบบุหรี่ไทยที่รับการให้ปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ 2) ไม่ได้กำหนดวันเลิกบุหรี่ (Quit date) ภายใน 1 เดือน (เนื่องจากหากกำหนดวันเลิกบุหรี่ภายใน 1 เดือน ผู้ที่สูบบุหรี่เหล่านั้นจะได้รับมาตรการเลิกบุหรี่จากศูนย์ฯ) 3) มีโทรศัพท์มือถือที่สามารถรับส่งข้อความได้ และ 4) สามารถเขียนและอ่านภาษาไทยได้ เกณฑ์การให้เลิกการศึกษา คือ อาสาสมัครที่มีความประสงค์จะยกเลิกการรับข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ

อาสาสมัครจะได้รับการเชิญให้เข้าร่วมโครงการวิจัยจากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ อาสาสมัครที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยด้วยความสมัครใจจำนวน 1,670 คน จะได้รับแบบสอบถามออนไลน์ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลพื้นฐานและคุณภาพชีวิต ภายหลังจากการตอบแบบสอบถาม อาสาสมัครจะได้รับชุดข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นเวลา 30 วัน โดยสุ่มให้อาสาสมัครได้รับชุดข้อความ 1 ใน 8 ชุดข้อความ

ภายหลังจากที่อาสาสมัครได้รับข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือแล้ว จะมีการติดตามผลการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นจำนวน 2 ครั้ง คือ ภายใน 1 เดือน หลังจากที่อาสาสมัครได้รับข้อความและภายใน 6 เดือน หลังจากที่อาสาสมัครได้รับข้อความ ทั้งนี้ อาสาสมัครบางส่วน (ร้อยละ 20) จะได้รับการสุ่มให้มารับการทดสอบคาร์บอนมอนอกไซด์ฟรี โดยที่จะมีการจ่ายค่าเดินทางและชดเชยค่าเสียเวลาให้แก่อาสาสมัคร โดยเหมารวมเป็นจำนวน 500 บาทถ้วน

ผลลัพธ์หลัก (primary outcome) ของงานวิจัยนี้คือ สถานะเลิกบุหรี่ที่การติดตาม 1 เดือน (self-reporting 7-day abstinence at the 1-month follow-up) ผลลัพธ์รอง (secondary outcomes) ของงานวิจัยนี้คือ การกำหนดวันเลิกบุหรี่ที่การติดตาม 1 เดือน และ 6 เดือน ความแตกต่างระหว่างคะแนนความตั้งใจในการเลิกบุหรี่เมื่อเปรียบเทียบกับ baseline ความแตกต่างระหว่างจำนวนบุหรี่ที่สูบภายในแต่ละวันเมื่อเปรียบเทียบกับ baseline และสถานะเลิกบุหรี่ที่การติดตาม 6 เดือนที่มีการ validate ด้วยผลจากการทดสอบคาร์บอนมอนอกไซด์

อาจารย์ที่ปรึกษา: Dr. Liz Glidewell, Leeds Institute of Health Sciences, University of Leeds Dr. Rebecca Walwyn, Leeds Institute of Clinical Trials Research, University of Leeds Professor Jeremy C. Wyatt, Wessex Institute of Health & Research, Faculty of Medicine, University of Southampton ที่ปรึกษาโครงการ: รศ. ดร.จินตนา ยูนิพันธ์ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ ผศ. ดร.อรุณรักษ์ คูเปอร์ มีใย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครโครงการได้ที่นี่ https://leeds.onlinesurveys.ac.uk/icanquitbaseline

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว