logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ผู้เชี่ยวชาญจาก University of Tokyo และ Crecon Medical Technology Assessment ประเทศญี่ปุ่นเยี่ยมชม HITAP

คณะผู้เชี่ยวชาญจาก University of Tokyo และ Crecon Medical Technology Assessment ประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาเยี่ยมชมการทำงานของ HITAP และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อนำไปศึกษาและปรับใช้กับบริบทของประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 23 มกราคม 2558 คณะผู้เชี่ยวชาญจาก ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย Dr.Isao Kamae, Mr.Takashi Sugimoto, Ms.Kaoru Yamabe จาก University of Tokyo และ Dr.Makoto Kobayashi จาก Crecon Medical Technology Assessment เดินทางมาเยี่ยมชมการทำงานของ HITAP และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment, HTA) ในการนี้นักวิจัย HITAP นำโดย ดร.ภญ.ศรีเพ็ญ ตันติเวสส นำเสนอเรื่องความเป็นมาของ HITAP การดำเนินงานของ HITAP ในฐานะที่ปรึกษาด้านเทคนิคการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในต่างประเทศ การพัฒนาและดำเนินงานด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประเทศไทยในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ การพิจารณาเบิกจ่ายและการคัดเลือกมาตรการหรือเทคโนโลยีเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ฯ โดยอาศัยหลักการ ต้นทุน-ประสิทธิผล และเกณฑ์ความเต็มใจจ่ายสูงสุด ซึ่งเดิมกำหนดไว้ที่ 120,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มเป็น 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา จากนั้นมีการเปิดอภิปรายระหว่างคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นและดร.ภญ.ศรีเพ็ญ ร่วมด้วย ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง และ ภญ.วริทธิ์ จันทรสภาพธจิต ซึ่งมีประสบการณ์เชิงลึกในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ฯ และการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามลำดับ

ต่อมา Dr.Kamae and Dr.Kobayashi ได้นำเสนอเกี่ยวกับระบบสุขภาพของญี่ปุ่น และการดำเนินงานด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศญี่ปุ่นว่า ระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นเริ่มดำเนินการมากว่า 50 ปี โดยรัฐบาลจะมอบบัตรประกันสุขภาพให้ประชาชนทุกคนเพื่อใช้แสดงเมื่อต้องการรับบริการด้านสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ และมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจำนวนมากถึงประมาณปีละหนึ่งล้านล้านเยน โดยสำหรับประเทศญี่ปุ่น เมื่อมีการขึ้นทะเบียนยาชนิดหนึ่ง จะมีการกำหนดราคาที่เหมาะสมเพื่อเป็นราคาขายมาตรฐานที่ใช้ทั่วประเทศ การกำหนดราคายานี้ใช้หลักเกณฑ์เปรียบเทียบประสิทธิผลกับยาที่มีอยู่ในท้องตลาด ที่ผ่านมา ไม่มีการบังคับตามกฎหมายให้ผู้ที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนยาแนบหลักฐานความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยาดังกล่าว แต่นับแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้ที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนยาจำต้องแนบหลักฐานดังกล่าว ส่วนการดำเนินงานด้านการประเมินเทคโนโลยีในประเทศญี่ปุ่นนั้นยังประสบปัญหาเรื่องบุคลากร รวมถึงความขาดแคลนข้อมูล แม้จะมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับการเบิกจ่ายที่สถานพยาบาลส่งไปยังส่วนกลางโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลเดียวกัน แต่แบบบันทึกข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีข้อมูลทางคลินิก หลังการนำเสนอและอภิปรายจึงมีการถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกัน

23 มกราคม 2558

Next post > ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากนานาประเทศร่วมอภิปรายเรื่องปัจจัยเกื้อหนุนในการพัฒนา HTA ในภูมิภาคเอเชีย

< Previous post เสนอความคิด พลิกนโยบาย : UCBP สัญจร เปิดรับฟังข้อเสนอ หัวข้อ/ปัญหาสุขภาพ รอบ 1/2558

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด