logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ทีมวิจัยนำเสนอผลประเมินความคุ้มค่าเบื้องต้น รายการยาต่อคณะทำงานเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

วันที่ 18 ธันวาคม 2557 คณะผู้วิจัยทั้งจากหน่วยงานไม่แสวงหากำไร และนักววิจัยจากบริษัทผู้ผลิตยา นำเสนอผลเบื้องต้นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยาที่ได้รับมอบหมายครั้งที่ 8/2557 เพื่อให้คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษา ก่อนนำไปเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป โดยการทำการประเมินความคุ้มค่าทุกโครงการต้องปฏิบัติตามคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย

ทั้งนี้หัวข้อการประเมินความคุ้มค่าที่นำเสนอในวันนี้มี 17 หัวข้อได้แก่

1. การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการใช้ยา Deferasirox ในข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาภาวะเหล็กเกินเนื่องจากการถ่ายเลือด (Transfusional-Dependent Thalassemia) ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี)

2. การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการใช้ยา Octreotide acetate (LAR) สำหรับการรักษาผู้ป่วย Acromegaly ที่ได้รับการรักษายโดยการผ่าตัดเนื้องอกและ/หรือการฉายแสงแล้ว ระดับ GH และ/หรือ IGF-1 ยังสูงอยู่

3. การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการใช้ยา Nilotinib (600 มิลลิกรัม/วัน) ในข้อบ่งใช้ส ำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ซึ่งมีPhiladelphia chromosome (Ph+ CML) ในระยะ chronic phase (CP)

4. การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของยา Everolimus สาหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลามชนิด HR+/HER2- ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยากลุ่ม NSA

5. การประเมินความคุ้มค่าของการใช้Gadoxetic acid (Primovist®) ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) ด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging)

6.  การประเมินความคุ้มค่าของยา Iodized oil fluid injection (Lipiodol® Ultra Fluid) ส าหรับการรักษามะเร็งตับ (Hepatocellular carcinoma)

7. Economic Evaluation of Fludarabine for Treatment of B-cell Chronic Lymphocytic Leukemia

8. การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยา Vinorelbine ในการรักษาเสริมมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก ระยะ II – IIIA ในประเทศไทย

9. การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของยา imatinib ส าหรับการรักษาเสริมในผู้ป่วยโรคมะเร็งเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร (GIST) ที่ได้รับการผ่าตัดและมีโอกาสเกิดโรคซ้ าสูง

10. ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการรักษาโรค multiple sclerosis ด้วยยา fingolimod เปรียบเทียบกับการรักษาแบบต่างๆ

11. การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของ Tiotropium Bromide Monohydrate เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease :  COPD) ที่มีระดับความรุนแรงของโรคตั้งแต่รุนแรงระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก

12. ความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการรักษาเสริมโดยใช้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งล าไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจายที่ผ่าตัดได้ของประเทศไทย

13. การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ Insulin Glargine ในข้อบ่งใช้ส าหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

14. การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของยาเบาหวานกลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 inhibitor (Sitagliptin, Saxagliptin, Vildagliptin) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

15. การประเมินความคุ้มค่าของการใช้สารชีวภาพในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

16. การประเมินความคุ้มค่าของยา crizotinib ในผู้ป่วย NSCLC ที่มีผลบวกจากการตรวจยีน ALK

17. การประเมินความคุ้มค่าของมาตรการบ าบัดโรคเสพติดยาสูบในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 

 

 

 

 

 

 

18 ธันวาคม 2557

Next post > คณะทำงานฯ เพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค คุยกรอบการทำงาน

< Previous post การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานการทำงาน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด