logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมคณะทำงานพิจารณาผลการทบทวนวรรณกรรมสำหรับโครงการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา คณะนักวิจัย HITAP จัดประชุมคณะทำงาน พิจารณาผลการทบทวนวรรณกรรมสำหรับโครงการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ณ ห้องประชุม HITAP เพื่อนำเสนอร่างมาตรฐานการทำงานปรับปรุงจากการประชุมครั้งที่ 1 โดยในครั้งนี้มี 3 เรื่อง ได้แก่ การป้องกันโลหิตจางในเด็ก การตรวจกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ และการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย คณะทำงานได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้
เรื่องที่ 1 ร่างมาตรฐานการทำงาน การป้องกันโลหิตจางในเด็ก
-การตรวจหญิงตั้งครรภ์ควรมีการระบุให้ชัดเจนว่าเป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก และควรมีการซักประวัติร่างกายเพื่อหา “ปัจจัยเสี่ยง” ก่อนนอกเหนือไปจากการตรวจ Hb และ Hct และควรแนะนำให้ตรวจหาปริมาณตะกั่วในหญิงตั้งครรภ์รายที่สงสัยร่วมด้วย โดยคัดกรองว่าแม่สัมผัสตะกั่วหรือไม่ ซึ่งอาจจะ พิจารณาจากอาชีพที่ทำอยู่ เพื่อให้ได้คำแนะนำเพื่อการป้องกันและรักษาที่เหมาะสม
– ควรมีการซักประวัติเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะซีดของเด็กด้วย รวมถึงการให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่มีความชุกของโรคโลหิตจางในเด็กสูง ที่อาจจะต้องมีมาตรการเพิ่มเติมจากมาตรฐาน
เรื่องที่ 2 ร่างมาตรฐานการทำงาน การตรวจกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์
– เสนอให้ระบุเกี่ยวกับแนวทางการให้คำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ทั้งก่อนและหลังการคัดกรอง พร้อมระบุให้กรมสุขภาพจิตและกรมอนามัยพัฒนาบุคลากรผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งปัจจุบันกำลังดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ ประเด็นทางจริยธรรมจะเข้ามาเกี่ยวข้องหากตรวจคัดกรองแล้วพบว่าเด็กมีโอกาสมีอาการดาวน์
– บริการภายหลังการคัดกรอง ควรมีการศึกษาวิเคราะห์อุปสรรคของการทำงานในแต่ละขั้นตอนเพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไข โดยให้ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน เนื่องจากการนำมาตรฐานการทำงานไปปรับใช้ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรมีมาตรฐานการทำงานด้านสุขภาพกลางของประเทศ ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติจริงในแต่ละพื้นที่แล้วศึกษาผลเปรียบเทียบอีกครั้ง
เรื่องที่ 3 ร่างมาตรฐานการทำงาน การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
– ควรพิจารณาโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรที่มีอายุมากกว่า 35 ปี รวมเข้าไว้ในการเขียนร่างมาตรฐานนี้ นอกจากนี้ ควรระบุประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ของคำแนะนำในร่างมาตรฐาน ฯ ให้ชัดเจน
ร่างมาตรฐานการทำงานทั้ง 3 เรื่องนี้ถูกปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมแล้วนั้น จะนำขึ้นเว็บไซด์ของ HITAP เพื่อรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางต่อไป นอกจากนี้ นักวิจัยได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแต่ละกลุ่มวัยในการนำร่างมาตรฐานการทำงานเหล่านี้ไปปรึกษาหารือในหน่วยงานถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรด้วย

4 ธันวาคม 2557

Next post > HITAP นำเสนอ ผลการศึกษาเบื้องต้น การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของยา Imatinib สำหรับการรักษาเสริมในผู้ป่วยมะเร็งเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร (GIST) ที่ได้รับการผ่าตัดและมีโอกาสเกิดโรคซ้ำสูง

< Previous post HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอ ผลการศึกษาเบื้องต้น เรื่อง ความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการรักษาเสริมโดยใช้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจายของประเทศไทย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด