“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ภญ.จันทนา พัฒนเภสัช ได้นำเสนอถึงผลการศึกษาเบื้องต้น ของความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการรักษาเสริมโดยใช้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะแพร่กระจาย โดย มีผู้เชี่ยวชาญ จาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ บริษัทยา ให้ข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษาเบื้องต้น โดยผู้เชี่ยวชาญให้ข้อคิดเห็นว่าควรวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม 3 ทางเลือกคือการใช้ 5-fluorouracil / leucovorin หรือ FOLFOX หรือ XELOX เป็น first line และหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา ให้ใช้การรักษาแบบประคับประคอง (best supportive care) โดยไม่มีการใช้ยาเคมีบำบัดใด ๆ จากนั้น ทุกทางเลือกที่ผลการวิเคราะห์พบว่าไม่มีความคุ้มค่า ให้นักวิจัยวิเคราะห์ราคายาที่จะทำให้แต่ละทางเลือกมีความคุ้มค่า สำหรับแนวทางการนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น หากทางเลือกที่พบว่ามีความคุ้มค่ามีการใช้ยาเคมีบำบัด 2 สูตร (first line และ second line) จะนำเสนอยาทั้งสองสูตรเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ และอาจเสนอให้ทบทวนสูตรยาสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ฯ ระยะ 3 ด้วยเพื่อป้องกันความเหลื่อมล้ำที่อาจเกิดขึ้น