logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน นายสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือไฮแทป (HITAP) เปิดเผยว่า จากการวิจัยเรื่อง การทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการในระบบหลักประกันสังคม พบว่าสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้รับน้อยกว่าผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีกายอุปกรณ์ที่จัดให้ผู้พิการ 54 รายการ ครอบคลุมประเภทความพิการทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว และมีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์สำหรับคนพิการ 9 รายการ ครอบคลุมความพิการทุกประเภท ส่วนสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมี 80 รายการ ขณะที่ประกันสังคมมีเพียง 29 รายการ โดยมีเฉพาะการได้ยิน และการเคลื่อนไหวเท่านั้น
“ภาครัฐสนับสนุนให้ผู้พิการที่ยังสามารถทำงานได้กลับเข้าสู่ระบบ ซึ่งเมื่อกลับมาทำงาน กฎหมายบังคับให้จ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเท่าคนปกติ แต่กลับพบว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับกลับน้อยกว่า สิทธิอื่นๆ คือ มีอุปกรณ์ทางกายไม่กี่รายการ รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องลดลง ทั้งนี้ รัฐสนับสนุนงบประมาณค่าอุปกรณ์สำหรับคนพิการปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่คนพิการที่ได้รับอุปกรณ์ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ หรือไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพราะไม่ตรงกับความต้องการ เช่น ขาเทียมที่เชื่อมต่อกับร่างกายไม่พอดี หรือได้รถเข็นที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ อุปกรณ์ชำรุดแต่ไม่มีระบบซ่อม หรืออุปกรณ์ไม่มีคุณภาพ ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก 1,584 ล้านบาทต่อปี” นายสุรเดชกล่าว และว่า ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำฐานข้อมูลคนพิการร่วมกัน และพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพียงชุดเดียวเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม

 

14 พฤศจิกายน 2557

Next post > ยอดเงินทดแทนประกันสังคมพุ่ง

< Previous post ประกันสังคม “คนพิการ” ห่วยสุด รักษาไม่ครอบคลุม-ลิดรอนสิทธิ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด