logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

1.ข่าวพี่นุช-01

วันที่ 3 ต.ค. 57 ที่ผ่านมา HITAP จัดประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาผลการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้น
ในกระบวนการจัดทำ “ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการ
ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

มาตรการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นมาตรการที่ HITAP จัดทำเพื่อหาข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ด้านการสร้างเสริมและป้องกันโรคสำหรับสามกลุ่มวัย ได้แก่ กลุ่มเด็กอายุ (0-5 ปี) กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่น (6-24 ปี) และกลุ่มผู้ใหญ่/วัยทำงาน (15-29 ปี) ซึ่งมาตรการนี้อยู่ใต้แผนงานยุทธศาสตร์สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขด้านการส่งเสริมและป้องกันโรค และเป็นกิจกรรมบริการภายใต้สิทธิประโยชน์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และ ป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ในการประชุมครั้งนี้คณะทำงานได้ให้ความเห็นว่า
– แผนงานนี้ยังไม่มีความชัดเจนในการปฏิบัติ ประกอบกับบางแผนงานยังไม่มีขอบเขตที่แน่ชัด จึงอาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำไปใช้จริง
– ยังต้องมีการจัดการระบบ และงบประมาณที่ดีพอ ในการนำไปใช้ได้จริงในหน่วยบริหารท้องถิ่น
– ชุดสิทธิประโยชน์นี้นอกจากพิจารณาการตรวจคัดกรอง/ตรวจสุขภาพอย่างเดียว แต่ยังต้องทำหน้าที่สร้างเสริมและป้องกันสุขภาพไปพร้อมกันด้วย

หลังจากนั้น ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง นักวิจัย HITAP ได้นำเสนอวัตถุประสงค์ ขอบเขตการทำงานและหลักการทบทวนวรรณกรรม “โครงการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อให้คณะทำงานทำการพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งที่ประชุมอภิปรายและให้ข้อคิดเห็น ซึ่งสรุปได้ดังนี้

– การทบทวนวรรณกรรมอย่างเดียวอาจจะไม่พอ เพราะบางขั้นตอนไม่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ในบริบทของประเทศไทย เช่น ข้อจำกัดทางทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านอุปกรณ์และด้านบุคลากร
– การแบ่งชุดสิทธิประโยชน์โดยใช้กลุ่มอายุเป็นเกณฑ์แบ่งประเภท อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด
– ควรมีการศึกษาบริบท รวมถึงระบบการสนับสนุน ติดตาม และเฝ้าระวัง และพัฒนาบุคลากรควบคู่กันไปด้วย
– ควรมีลักษณะมาตรการที่หลากหลาย และแบ่ง phase การทำงานที่ชัดเจน (ทบทวนวรรณกรรม/ลงมือปฏิบัติ)

นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้มีผู้ปฏิบัติงานจริง เช่น องค์กรอิสระ นอกเหนือจากกลุ่มนักวิชาการเข้ามาร่วมพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะด้วย สำหรับประเด็น/มาตรการฯ ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเรื่องประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพชัดเจนแล้ว ให้คณะผู้วิจัยจัดทำ Quality Standards ส่วนมาตรการฯ ที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ตัดออก และควรแบ่งประเภทของมาตรการออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ มาตรการระดับชาติ มาตรการระดับท้องถิ่น (เช่น มาตรการที่ดำเนินการในโรงเรียน) และมาตรการในสถานพยาบาล

ติดตามเอกสารสรุปการประชุมได้ที่ https://www.hitap.net/งานวิจัย/โครงการพัฒนาข้อเสนอเพื

10 พฤศจิกายน 2557

Next post > HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อภิปรายผลใน“มาตรการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านการหกล้ม ในผู้สูงอายุและการป้องกันโรคสมองเสื่อม”

< Previous post HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญในโครงการ “การศึกษาปัจจัยและตัวแสดงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็กก่อนวัยเรียนที่อาศัยในเขตเมือง”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด