logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP ขนทีมวิจัย 3 กองทัพ ลงสนามในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo 2024

เมื่อวันที่ 26-30 สิงหาคม 2567 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ HITAP ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 โดยคัดเลือกผลงานสำคัญ ๆ ได้แก่ โครงการวิจัยการประเมินผลเชิงพัฒนานโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวในพื้นที่นำร่อง” ตัวอย่างนวัตกรรมระยะพัฒนาจาก “MIDAS” และ ฝ่ายเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม “E^2U” ที่นำเสนอวิสัยทัศน์อันมุ่งมั่นและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ดร. ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว หัวหน้าฝ่ายวิจัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ นำเสนอหัวข้อโครงการวิจัยการประเมินผลเชิงพัฒนานโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวในพื้นที่นำร่อง” โครงการที่ซึ่งเป็นงานวิจัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เสนอผลการสำรวจประชาชนในพื้นที่จังหวัดนำร่อง เพื่อพัฒนานโยบายบัตร 30 บาท ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้:

ทั้งหมดนี้เป็นนโยบายที่สำรวจและพัฒนาเพื่อปรับปรุงการบริการให้กับประชาชน ที่สำคัญยังชี้แจงในประเด็นสถานที่และวิธีที่ถูกต้องในการใช้สิทธิบัตร 30 บาทรักษาทุกที่ให้แก่คณะกรรมการและประชาชนผู้เข้าเยี่ยมชมงานอีกด้วย

ซึ่งในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ด้วยความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขไทยให้แข็งแรง ประชาชนเข้าถึงได้อย่างยั่งยืน โครงการวิจัยการประเมินผลเชิงพัฒนา นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวในพื้นที่นำร่อง ได้สร้างเกียรติภูมิด้วยการเป็น 1 ใน 6 ทีมที่ คว้ารางวัลประเภท Silver ซึ่งเป็นรางวัลที่รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร เพื่อเชิดชูผลงานให้เป็นที่จารึกได้สำเร็จ

 

อีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญและเป็นหน่วยงานเดียวในประเทศไทยที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในระยะพัฒนาโดยการนำ Early HTA มาใช้ประเมิน “ฝ่ายประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อการผลิตนวัตกรรม (Medical Innovation Development and Assessment Support: MIDAS)” โดยมี ดร.ธีรวัฒน์ วิวัฒน์พาณิชย์ ผู้จัดการแผนงานวิจัยและนักวิจัย นำเสนองานวิจัยที่พัฒนากับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการวิจัยเรื่องชุดตรวจวัณโรคปอดด้วยตัวอย่างน้ำลาย เพื่อให้นอกจากชุดตรวจที่มีคุณภาพ มีความแม่นยำและความเที่ยงต่อการแปรผล ช่วยยกระดับสุขภาพให้กับผู้ป่วยและประชาชนได้จริงแล้ว แต่แม้นเป็นนวัตกรรมที่ดีเลิศ ก็อาจไปไม่ถึงมือประชาชนหากประเมินแล้วพบว่าไม่มีความคุ้มค่าฯ การนำ Early HTA เข้ามาสู่ขั้นตอนแรกของกระบวนการพัฒนาจึงสำคัญต่อนวัตกรรมทางการแพทย์เป็นอย่างมาก

 

สำหรับภาคการประชุม ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ฝ่ายเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม “E^2U” ยังเปิดเวทีเสวนาการขับเคลื่อนสังคมในหัวข้อ “การร่วมมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการประเมินคาร์บอนของภาคส่วนสุขภาพ (Climate and Carbon Resilient Health Sector)” และมีผู้เข้าร่วมการอภิปรายจำนวนมากตลอดเวลา 2ชั่วโมงครึ่ง โดยในการบรรยาย Sarin KC, ดร.วิศวะ มาลากรรณ, คุณวิลาสินี สำเนียง, Miss Yin May Tun, และคุณธนกร เจริญกิตติวุฒ ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายต่อการปลดปล่อยคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ต่อสิ่งแวดล้อม ที่ต้องการนำพาประเทศไทยไปให้ถึง ได้แก่ เป้าหมายเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) หรือการทำให้การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เท่ากับที่ปล่อยออก ให้สำเร็จในปี 2050 และเป้าหมายสูงสุดคือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net zero emission) ให้สำเร็จในปี 2065 เพื่อลดความเสียหายและผลกระทบจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน ผ่าน Climate resilient, Carbon resilient, และ Green HTA และเพื่อปลูกฝังความเข้าใจต่อการปลดปล่อยคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ที่ง่ายขึ้น ภายในภาคนิทรรศการยังมีเกม Carbon quest” ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากทีมนักพัฒนาของ HITAP เองอีกด้วย

5 กันยายน 2567

Next post > นักวิจัย HITAP นำโครงการวิจัย “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวในพื้นที่นำร่อง” คว้ารางวัลในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567

< Previous post MIDAS ขอเชิญนักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมประกวดนวัตกรรมด้านการแพทย์ในงาน “MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1.4 ล้านบาท

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด