HITAP Foundation รับรางวัลเกียรติยศ “5 ทศวรรษ ระบบยาประเทศไทย” พร้อมร่วมเสวนาทิศทางบัญชียาหลักแห่งชาติ

ฉบับวันที่: 22 สิงหาคม 2024
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดงานประชุมวิชาการ “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” ปี 2567 พร้อมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การวิจัยด้านระบบสุขภาพและการแพทย์
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดงานประชุมวิชาการ “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” ปี 2567 พร้อมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การวิจัยด้านระบบสุขภาพและการแพทย์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายรวม 24 หน่วยงาน ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยในพิธีลงนาม MOU ดังกล่าว รศ. ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) หนึ่งในภาคีเครือข่ายได้เข้าร่วมพิธีเพื่อแสดงถึงความร่วมมือในการจัดระบบสนับสนุนและบูรณาการการวิจัยด้านระบบสุขภาพและการแพทย์ โดยมุ่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างผลลัพธ์และผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ เลขาธิการมูลนิธิและนักวิจัยอาวุโส HITAP ในเวทีอภิปรายเรื่อง “หลอมรวมปัญญาสู่ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ของระบบสุขภาพด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์”
นอกจากนี้ ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ เลขาธิการมูลนิธิและนักวิจัยอาวุโส HITAP ได้เข้าร่วมเวทีอภิปรายเรื่อง “หลอมรวมปัญญาสู่ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ของระบบสุขภาพด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์” โดยกล่าวถึงความท้าทายของระบบสุขภาพที่มีทั้งยาราคาแพง และค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางออกของปัญหาเหล่านี้มี 2 ทางคือ การเพิ่มงบประมาณเข้าไปในระบบ หรือลดการลงทุนที่สูญเปล่าในระบบสุขภาพ จากข้อมูลพบว่า บางประเทศที่มีการเติมเงินเข้าไปในระบบสุขภาพนั้น คิดเป็นค่าใช้จ่ายสูงถึงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ด้านประเทศไทยที่มีการใช้จ่ายด้านนี้เพียงร้อยละ 5-6 ของ GDP เท่านั้น แต่กลับมีการลงทุนที่สูญเปล่าอยู่จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น อัตราการผ่าตัดคลอดของไทยที่สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กำหนดไว้ที่ร้อยละ 10-15 และสูงเป็นอันดับสองของเอเชียรองจากจีน นอกจากนี้ การผ่าตัดไส้ติ่งของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยยังมีอัตราสูงเกินความจำเป็น และใช้งบประมาณไปกว่า 60 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สามารถนำไปสนับสนุนระบบสาธารณสุขในส่วนอื่นได้ เป็นต้น การลดการลงทุนที่สูญเปล่าให้น้อยลง จะสามารถมีเงินลงทุนกับการรักษารูปแบบใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งงานวิจัยจะเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเกิดความคุ้มค่าได้มากยิ่งขึ้น
—–
รับชมไลฟ์ย้อนหลัง: https://www.facebook.com/hsrithailand/videos/1595578387967239/
—–
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบสาธารณสุขเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการปรับตัวของระบบบริการต่อการระบาดและความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย https://www.hitap.net/research/179967
เอกสารเผยแพร่
Policy Brief ฉบับที่ 130: Data ช่วงการระบาดโควิด-19 พบการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบอาจเกินจำเป็น https://www.hitap.net/documents/183971
Policy Brief: ฉบับที่ 134: ผลพวงจากมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ต่อการให้บริการผู้ป่วยใน (IPD) ของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) https://www.hitap.net/documents/184044
Policy Brief ฉบับที่ 139: แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่? https://www.hitap.net/documents/184063
—–
ที่มา
ภาพ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ข่าว: https://www.hsri.or.th/news/1/4296