ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
กลับมาอีกครั้งในการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือ Economic Evaluation (EE) ที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ในวาระนี้ HITAP เจ้าภาพในการจัดการอบรมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานกว่า 18 ปี จึงได้ดำเนินจัดการอบรมอีกครั้งในปีพ.ศ. 2567 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 19 แล้ว และแน่นอนว่าการอบรมในครั้งนี้ ได้เปิดรับสมัครผู้อบรมแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
EE Training คืออะไร
EE Training หรือ Economic Evaluation Training คือการอบรมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ ในด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (Health Economic Evaluation) ซึ่งในปัจจุบัน ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการกำหนดนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวกับการเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เหมาะสม เช่น การพิจารณาคัดเลือกยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) เป็นต้น
โดยผู้เข้าอบรมจะได้พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ซึ่งนำโดยทีมวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ทำไมถึงควรเข้าอบรมหลักสูตร EE Training ครั้งที่ 19 กับ HITAP
ด้วย HITAP ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้าน Health Economic Evaluation เจ้าภาพในการจัดการอบรมในหลักสูตร EE Training ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าอบรมอย่างต่อเนื่องมาตลอด 18 ปี เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความรู้ ความสามารถในเรื่องการประเมินความคุ้มค่าฯ ให้แก่บุคลากรทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ให้สามารถประยุกต์และพัฒนางานวิจัยในระดับนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสำหรับหลักสูตร EE Training ครั้งที่ 19 นี้ HITAP เราได้พัฒนาหลักสูตรมากขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม แต่ครอบคลุมเนื้อหาและประสบการณ์ใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ HITAP ไม่อยากให้คุณพลาด EE Training ในครั้งนี้
หลักสูตร EE Training มีอะไรบ้าง
ปีนี้ HITAP เปิดรับสมัครหลักสูตร EE Training ทั้งหมดถึง 4 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่
หลักสูตรการประเมินความคุ้มค่าฯ หลักสูตรเบื้องต้น:
ครอบคลุมทุกเรื่องที่ควรต้องรู้เกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่า เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านการอบรมมาก่อน ต้องการปูพื้นฐานให้ “แน่นปัง” ต้องการเรียนรู้ และทำความเข้าใจ “การประเมินความคุ้มค่าฯ” ในภาพรวม โดยเนื้อหาหลักประกอบไปด้วย ความสำคัญ หลักการ, แนวทาง และขั้นตอนการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และแนวโน้มของการประเมินเทคโนโลยีในอนาคต
หลักสูตรการประเมินความคุ้มค่าฯ หลักสูตรเชิงปฏิบัติการโดยใช้แบบจำลองขั้นสูง:
ต่อยอดความรู้เรื่องการประเมินความคุ้มค่าฯ ด้วยการลงมือจริง เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่านหลักสูตรเบื้องต้นหรือมีประสบการณ์ด้านการประเมินความคุ้มค่าฯ มาแล้วระดับหนึ่ง เพื่อเรียนรู้การฝึกสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ประเภทต่าง ๆ, ฝึกการค้นหาข้อมูลและสถิติมาใช้ในแบบจำลอง หรือการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจําลองมาร์คอฟโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Microsoft Excel) รวมถึงการเรียนรู้กรณีตัวอย่างในการประเมินความคุ้มค่าฯ สําหรับเทคโนโลยีด้านสุขภาพอื่น ๆ นอกเหนือจากยา เช่น Digital health หรือ เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
หลักสูตรการนำการประเมินความคุ้มค่าฯ ไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย:
ครั้งแรกในประเทศไทย กับเวทีเสวนาความคุ้มค่าฯ สุดเข้มข้นในสไตล์ “HTAlk” ฟังประสบการณ์การใช้ข้อมูลความคุ้มค่าฯ จากผู้กำหนดนโยบายตัวจริง เพื่อประกอบการตัดสินใจระดับประเทศ หรือในเชิงนโยบาย รวมถึงผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์ การถ่ายทอดเทคนิคความรู้ ถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนมุมมองบนเวทีในรูปแบบ Forum Talk
หลักสูตรการประเมินความคุ้มค่าฯ โดยใช้ข้อมูลระดับบุคคล:
หลักสูตรที่จะ “เปลี่ยน” ข้อมูลระดับบุคคล (Person-level data) ที่มีในมือ “สู่” การสร้างแบบจำลองสำหรับการประเมินความคุ้มค่าฯ ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่มีข้อมูลระดับบุคคลแต่ยังไม่รู้จะนำข้อมูลมาใช้ประเมินความคุ้มค่าอย่างไร หลักสูตรนี้จะเรียนรู้หลักการ ขั้นตอน และกระบวนการ พร้อมทั้งการนำเสนอผลการประเมินความคุ้มค่าฯ ที่ได้จากการใช้ข้อมูลระดับบุคคล ผ่านรูปแบบการบรรยายและการลงมือปฏิบัติจริง
ค่าอบรมหลักสูตรและรายละเอียดการสมัคร
ค่าอบรมแต่ละหลักสูตร
*หมายเหตุ
- สำหรับ EE Training รอบ Early bird เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ – 15 มิ.ย.2567 นี้เท่านั้น ที่นั่งมีจำนวนจำกัด สมัครก่อนได้สิทธิ์ก่อน
- โควต้าสำหรับนักเรียน/นักศึกษา หลักสูตรละไม่เกิน 10 ท่านเท่านั้น
- พิเศษส่วนลด 10% สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนหลักสูตรเบื้องต้น หรือหลักสูตรปฏิบัติการในปีนี้ (ปีที่ 19) หรือผู้ที่เคยลงทะเบียนในหลักสูตรเบื้องต้น หรือหลักสูตรปฏิบัติการในปีก่อนมาแล้วเท่านั้น
- ข้าราชการสามารถเบิกจ่าย และเข้าร่วมอบรมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เข้าอบรมครบตามหลักสูตรที่กำหนดสามารถขอรับหน่วยกิต CME, CDEC, และ CPE ได้
วิธีการสมัคร
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมหลักสูตร คลิกที่นี่ เพื่อสมัครและสำรองที่นั่งได้เลยทันที กรณีที่ท่านยังไม่มั่นใจว่าหลักสูตรเหมาะกับตนเองหรือไม่ สามารถทำแบบประเมินเพื่อรับคำแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสมกับท่านได้ที่นี่เลย
ติดต่อและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ผู้ประสานงานการอบรม:
- พว.จิราธร สุตะวงศ์, ภญ.ปานทิพย์ จันทมา, และนางสาวนิชาต์ มูลคำ (สำหรับหลักสูตรเบื้องต้น หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ และหลักสูตรการนำไปใช้เชิงนโยบาย)
- ทพญ.ปิยดา แก้วเขียว และ นางสาวจุฬาทิพย์ บุญมา (สำหรับหลักสูตรการใช้ข้อมูลระดับบุคคล)
ที่อยู่สำหรับติดต่อ: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ชั้น 6 อาคาร 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี
เบอร์โทรศัพท์: 02-590-4549, 02-590-4374-5 โทรสาร 02-590-4369
เว็บไซต์: https://eetraining.hitap.net/ และ https://dataworkshop.hitap.net/
อีเมล: [email protected]
7 มิถุนายน 2567