logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
[Press Release] เสริมสร้างความแข็งแกร่งพร้อมรับมือโรคระบาด ผ่านการสร้างแบบจำลองโรคติดเชื้อ

นนทบุรี, ประเทศไทย | วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565  –  โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองโรคติดเชื้อ (Technical Workshop on Infectious Disease Modelling) ซึ่งรวมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานระดับนานาชาติ ได้แก่ London School of Hygiene and Tropical Medicine มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) และมหาวิทยาลัยฮ่องกง (The University of Hong Kong) มาร่วมบรรยายเกี่ยวกับการสร้างและใช้งานแบบจำลองโรคติดเชื้อ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเทคนิคของนักวิจัย นักวิชาการในประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ ในการสร้างหรือประยุกต์ใช้แบบจำลองดังกล่าวเพื่อสนับสนุนนโยบาย และเตรียมรับมือกับโรคระบาดในอนาคตสำหรับทุกประเทศ

นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ระดับ 11 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข) ประธานในพิธีเปิดกล่าวว่า “หนึ่งในองค์ความรู้หรือศาสตร์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในการสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาด คือ แบบจำลองโรคติดเชื้อ หรือที่เรียกว่า infectious disease modelling ที่ใช้ทำนายผลการป้องกันควบคุมโรคในอดีต ใช้วางแผนดำเนินงานและเตรียมการรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เปรียบเหมือนเข็มทิศหรือแผนที่ซึ่งใช้บอกว่าเรากำลังเดินทางไปจุดไหนหรือห่างจากเป้าหมายเท่าใด นอกจากนี้ผลจากแบบจำลองโรคติดเชื้อนี้ยังมีประโยชน์อย่างมากในการสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจสถานการณ์ สามารถรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีสติ”

พร้อมเสริมว่า “ที่ผ่านมาผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลประเทศไทย ได้ใช้ประโยชน์และตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถสร้าง แปลผลและใช้ประโยชน์จากแบบจำลองโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ขีดความสามารถที่มีอยู่อย่างจำกัดยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายจากโรคระบาดในอนาคต ด้วยเหตุนี้ HITAP จึงได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยและใช้ประโยชน์จากแบบจำลองโรคติดเชื้อสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นที่มาของการจัดอบรมในวันนี้”

การอบรมครั้งนี้ HITAP ตั้งเป้าหมายว่าผู้เข้าอบรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปปรับใช้กับการทำงาน และอาจเป็นประตูที่เปิดไปสู่การทำงานใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองโรคติดเชื้อ เพื่อประโยชน์ของระบบสุขภาพและประชาชนไทย รวมถึงประชากรโลก โรคติดเชื้อไม่ใช่ปัญหาของชาติเท่านั้น แต่คือความท้าทายของมนุษยชาติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองโรคติดเชื้อ (Technical Workshop on Infectious Disease Modelling) ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ได้แก่ ศาสตราจารย์มาร์ก จิต และผู้ช่วยศาสตราจารย์หยาง หลิว จาก London School of Hygiene and Tropical Medicine ผู้ช่วยศาสตราจารย์คีชา เปรม จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติประเทศสิงคโปร์ รองศาสตราจารย์บวรศม ลีระพันธ์ จากคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และ รศ. ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย จากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้ง Eric Arndt ผู้อำนวยการสำนักงานระดับภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) ประเทศไทย

การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) ซึ่งมีเป้าประสงค์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับโรคระบาด ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) ได้ที่นี่ และองค์กรพันธมิตรในการจัดอบรมนี้ได้แก่ สำนักวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย และ The Access and Delivery Partnership (ADP) ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP)

 

เกี่ยวกับ HITAP

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program) หรือ HITAP (ไฮแทป) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 เป็นองค์กรวิจัย กึ่งอิสระ ภายใต้สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีพันธกิจหลัก คือ ศึกษาผลกระทบทั้งบวกและลบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ และนำข้อมูลดังกล่าวไปนำเสนอเพื่อใช้ในการตัดสินใจด้านนโยบายของภาครัฐ เช่น คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ HITAP ยังทำงานในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นการเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้ประเทศเหล่านั้นสามารถทำประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพด้วยตนเอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครรับอีเมลอัปเดตข่าวสารของเราได้ที่ [email protected]

ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร

อีเมล [email protected]

โทร : +662-590-4549 , +662-590-4374-5 | โทรสาร : +662-590-4369

 

เกี่ยวกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation)

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เป็นองค์กรที่บุกเบิกการการทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในทุกระดับตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ พร้อมสร้างโอกาสให้มีความทั่วถึงและยั่งยืน อีกทั้งยังมุ่งขยายขอบเขตด้านพลังงานหมุนเวียนแก่ทุกคน รวมถึงกระตุ้นการขยับฐานะทางเศรษฐกิจ การ

8 ธันวาคม 2565

Next post > HITAP ชูบทบาทผู้นำด้านสาธารณสุขของประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA) ระดับภูมิภาค

< Previous post ประกาศรับสมัครทีมวิจัย เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของรายการยาที่เสนอเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2565-2567

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด