logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP โดย ทีมงานโครงการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ จัดประชุมคัดเลือกหัวข้อปัญหา ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ปี 2565

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) โดยทีมโครงการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ หรือ โครงการ UCBP ร่วมกับสปสช. จัดประชุมระดมสมองเพื่อจัดลำดับความสำคัญ และสรุปข้อเสนอหัวข้อปัญหาและ/หรือเทคโนโลยีสุขภาพเพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2565 (UCBP 2565) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ โดยมี รศ. พญ.ประสบศรี  อึ้งถาวร ประธานอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เป็นประธานการประชุม   และดำเนินรายการโดย ดร. นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรศ. นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช และประธานคณะทำงานคัดเลือกหัวข้อฯ มีผู้แทนจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ร่วมเสนอหัวข้อทั้งสิ้น 31 หัวข้อจาก 16 ราชวิทยาลัย / สมาคม โดยมีการเสนอหัวข้อและแลกเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงเนื้อหาหัวข้อปัญหาและมองหาหนทางแก้ไขแต่ละประเด็นสุขภาพ

ผลสรุปการประชุมคัดเลือกหัวข้อ มี 5 หัวข้อปัญหาที่ได้คะแนนสูงสุดและผ่านเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกหัวข้อร่วมกับกลุ่มอื่นๆในรอบต่อไป ดังนี้

1) การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดและการใช้เซลล์บำบัดในโรคทางกระจกตาและผิวดวงตา

2) ชุดอุปกรณ์วัดปริมาณเลือดออกจากหัวใจชนิดผ่านหลอดเลือดแดง กับประโยชน์และความคุ้มค่าในการป้องการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

3) การเปลี่ยนลิ้นหัวใจพัลโมนารี โดยการสวนหัวใจ (Transcatheter pulmonary valve replacement)

4) สิทธิประโยชน์การฟื้นฟูการเดินและการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลันที่ไม่สามารถ เดินได้ด้วยตนเอง (severe non-ambulatory subacute stroke patients) ด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic Assisted Gait Training: RAGT) ชนิด end-effector stationary gait robots

5) การเข้าถึงบริการการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำที่บ้านหรือขณะฟอกเลือดล้างไต

หัวข้อปัญหาเหล่านี้จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกหัวข้อครั้งที่ 1 โดยคณะทำงานคัดเลือกหัวข้อฯ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่จะถึงนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เร็ว ๆ นี้

27 มกราคม 2565

Next post > [Press Release] HITAP ถอดบทเรียนนโยบายอยู่กับโควิด-19 ผ่อนคลายมาตรการแล้วเป็นอย่างไร

< Previous post HITAP โดย ทีมงานโครงการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ จัดประชุมคัดเลือกหัวข้อปัญหา ของกลุ่มประชาชนทั่วไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ปี 2565

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด