logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำเสนอผลการวิจัยเบื้องต้น “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของนโยบายการควบคุมการบริโภคอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ”

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 ทีมวิจัย HITAP จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำเสนอผลวิจัยเบื้องต้นโครงการ การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของนโยบายการควบคุมการบริโภคอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ และรับฟังข้อเสนอแนะจากหลายฝ่าย อาทิ ตัวแทนจากองค์การอนามัยโลก, สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักแผนภาษี, สำนักนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักงานอาหารและยา, สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ, กรมสรรพสามิต, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์หัวใจ หลอดเลือดและเมแทบอลิซึม, สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมและบริษัทผู้ผลิตอาหาร

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ประชาชนบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน (หรือ เกลือ 5 กรัมต่อวัน) แต่ในปัจจุบันพบปัญหาการบริโภคโซเดียมมากเกิน ซึ่งนำมาสู่โรคภัยไข้เจ็บมากมาย ดังนั้นจึงมีการริเริ่มนโยบายควบคุมการบริโภคโซเดียมเพื่อป้องกันผลเสียทางสุขภาพที่จะตามมา

นักวิจัย HITAP นำเสนอโครงการวิจัยทั้งหมดในรายละเอียด ตั้งแต่สถานการณ์การบริโภคโซเดียมในประเทศไทย ผลกระทบหรือโรคที่เพิ่มขึ้นจากการบริโภคโซเดียมเกินรวมถึงการวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพหากมีมาตรควบคุมการบริโภคโซเดียม ซึ่งมีหลายรูปแบบตั้งแต่ มาตรการการเก็บภาษีโซเดียม (taxation) การอุดหนุนการลดโซเดียม (subsidy) การปรับสูตรลดโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป (reformulation) การมีฉลากเพื่อแสดงปริมาณโซเดียมในอาหาร (labelling) จนถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับภัยจากการบริโภคโซเดียมเกินกับประชาชนทั่วไปและประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคผ่านทางสื่อสาธารณะ (mass media campaign)

ทั้งนี้ ผลวิจัยเบื้องต้น พบว่า ทุกนโยบายส่งผลให้ประชาชนมีปีสุขภาวะหรือปีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและสามารถประหยัดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคโซเดียมเกิน (cost-saving) เมื่อเทียบกับการไม่มีมาตรการควบคุมการบริโภคโซเดียม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แลกเปลี่ยนความเห็นพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ หลายฝ่ายมองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งดำเนินมาตรการหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน เช่น การให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อเพิ่มความตระหนักในการบริโภคโซเดียม ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการบริโภคโซเดียมตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ ทีมวิจัยจะนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงเพื่อจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และเผยแพร่รายงานดังกล่าวสู่สาธารณะในลำดับถัดไป

3 กุมภาพันธ์ 2563

Next post > HITAP จัดอบรมวิเคราะห์สถานการณ์การเข้าถึงยาบัญชียา จ(2) บัญชียาหลักแห่งชาติ

< Previous post HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญนำเสนอผลการศึกษาทบทวนระบบและพัฒนาข้อเสนอการบริหารยาจำเป็น

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด