logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาโครงการวิจัยเรื่องการเบิกจ่ายค่าบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (CRRT) สำหรับ การบริการภาวะไตวายเฉียบพลัน

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 HITAP ได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาโครงการวิจัยเรื่องการเบิกจ่ายค่าบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (continuous renal replacement therapy: CRRT) สำหรับ การบริการภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury: AKI) เพื่อกำหนดเนื้อหาการศึกษา และกำหนดคำถามงานวิจัย

ปัจจุบันมีผู้ป่วย 5,000 คนต่อปี หรือประมาณร้อยละ 6 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) มีภาวะ AKI และจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบ CRRT หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้รับการรักษาด้วย CRRT จะไม่มีโอกาสรอดชีวิต ซึ่ง CRRT เป็นการฟอกเลือดตลอด 24 ชั่วโมง แตกต่างไปจากบำบัดทดแทนไตแบบอื่น เป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่มีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม CRRT มีต้นทุนในการบริการสูง แต่การเบิกจ่ายค่าบริการไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง จึงมีการศึกษาเพื่อพิจารณาว่า การเบิกจ่ายค่าบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง สำหรับบริการผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่เหมาะสมในประเทศไทยควรเป็นอย่างไร

การประชุมผู้เชี่ยวชาญในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้การศึกษาดำเนินไปอย่างครอบคลุม เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ในการนี้ มีตัวแทนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยสมาคมพยาบาลโรคไตโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลราชวิถีโรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมประชุมให้ข้อคิดเห็น เพื่อพัฒนาโครงร่างการวิจัย (proposal) ต่อไป

8 ตุลาคม 2562

Next post > HITAP ต้อนรับผู้แทนจากประเทศเมียนมาเพื่อดูงานเกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข

< Previous post HITAP ออกบูธงาน การประชุมวิชาการแพทยศาสตร์ศึกษา CPIRD 2019

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด