“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 HITAP จัดประชุมนำเสนอผลการศึกษาการเข้าถึงและความเป็นไปได้ในการจัดบริการการให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในโรงพยาบาล โดยมีตัวแทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยามหิดล, โรงพยาบาลร้อยเอ็ด, โรงพยาบาลขอนแก่น, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมรับฟัง
เมื่อเกิดภาวะความพิการ คนพิการต้องเผชิญหน้ากับความตึงเครียดซึ่งส่งผลต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย เกิดปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ ความรู้สึกด้อย ความวิตกกังวล หากมีความคิดเช่นนี้ คนพิการจะแยกตัวเองไปอยู่โดดเดี่ยว และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยาก บริการให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ คือการช่วยบุคคลให้เผชิญกับผลที่เกิดจากความพิการโดยการให้คำปรึกษาด้านส่วนตัว การแพทย์ การศึกษา สังคม อาชีพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการและครอบครัว ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
HITAP ทำการศึกษานี้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทีมวิจัยได้นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้น ในประเด็นต่อไปนี้ คือการเข้าถึงบริการการให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ, ผลลัพธ์ของการรับบริการ, ความเป็นไปได้ในการจัดบริการ, รูปแบบการให้บริการการให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูฯ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังและให้ความเห็นต่อผลการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งคณะวิจัยจะนำไปปรับใช้ในการจัดทำรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ต่อไป