“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสนอโครงร่างงานวิจัยการประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านงบประมาณของการใช้ยาชีววัตถุต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดําเนินโรค (Biologic disease-modifying anti-rheumatic drugs: bDMARDs) สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่อยู่ในระดับรุนแรงมาก
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบทำลายเยื่อบุข้อโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน นำไปสู่ความพิการได้ แนวทางการรักษาเป็นไปตามความรุนแรงและระยะของโรค โดยจะมีการให้ยา bDMARDs ในรายที่ไม่ตอบสนองหรือตอบสนองไม่เพียงพอต่อการรักษาด้วยยา DMARDs มาตรฐาน 3 ชนิดร่วมกันนาน 6 เดือน หรือมีข้อห้าม ในการใช้ DMARDs มาตรฐานอย่างมีนัยสําคัญ
จากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศยอมรับว่ายากลุ่ม bDMARDs มีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และในปัจจุบันมีการผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilar DMARDs) ออกมา ทำให้ราคายากลุ่มดังกล่าวถูกลง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการใช้ยา bDMARDs ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เพื่อประกอบการตัดสินนโยบายในการบรรจุยาเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ
ทีมวิจัยได้นำเสนอโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอข้อคิดเห็นสำหรับใช้ในการกำหนดขอบเขตของงานวิจัยโดยมีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญร่วม อาทิ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, กรมบัญชีกลาง, สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) และสำนักงานคณะกรรมการองค์การอาหารและยา (อย.) โดยทางทีมวิจัยจะนำข้อคิดเห็นไปปรับใช้เพื่อดำเนินงานวิจัยต่อไป