“MIDAS Medical Innovation Hackathon 2025” เวทีขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ สู่สิทธิประโยชน์ของคนไทย

การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 15
วันที่ 5 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562
โรงแรมริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี
ทำไมต้องประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
เทคโนโลยีด้านสุขภาพนับเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสุขภาพ ซึ่งมีความหลากหลาย มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีหรือนโยบายที่ใช้ได้ผลดีในสถานที่หนึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับอีกสถานที่หนึ่ง ประกอบกับทรัพยากรในระบบสุขภาพมีจำกัดจึงต้องพิจารณาเลือกใช้เฉพาะเทคโนโลยีและนโยบายที่เหมาะสม
ใครสามารถเข้าร่วมบ้าง
– ผู้กำหนดนโยบาย: ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นสุขภาพ
– นักวิจัยและนักวิชาการ: ทำงานเกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข นโยบายสุขภาพ และระบบสุขภาพ
– บุคลากรทางการแพทย์: ผู้ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพใหม่ๆ และนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ในการทำงาน
– ที่ปรึกษาด้านการกำหนดราคายาและเครื่องมือแพทย์ การเบิก-จ่าย และการเข้าถึงตลาด
ระยะเวลาการอบรม 5 – 9 สิงหาคม 2562
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร
หลักสูตรเบื้องต้น (วันที่ 5 – 6 สิงหาคม 2562)
เหมาะสำหรับนักวิชาการและนักวิจัยจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาที่ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หลักสูตรนี้เน้นการบรรยายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ความสำคัญ วิธีการ และขั้นตอนของการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการนำผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย
เนื้อหา
หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ (วันที่ 7-9 สิงหาคม 2562)
เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรเบื้องต้น หรือผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ใหม่เพื่อนำไปปรับใช้กับงานที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรนี้เน้นการใช้โปรแกรมหรือแบบจำลองต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากในปัจจุบันมี commercial software หลายชนิดที่สนับสนุนการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม แบบจำลองดังกล่าวมีราคาสูงและต้องเสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว คณะผู้จัดจึงมุ่งหวังให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel® ซึ่งหาได้ง่าย สะดวกในการตรวจสอบ และสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยอื่น ๆ
เนื้อหา
การเตรียมตัวก่อนอบรม
– ผู้เข้าร่วมอบรมควรมีพื้นฐานการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel เป็นอย่างดี
– นำคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ที่เป็นระบบปฏิบัติการ Windows 7 ขึ้นไป
– มีโปรแกรม Microsoft Excel 2010 ขึ้นไป
ท่านจะได้เรียนรู้จากใครบ้าง
คณะผู้สอน
– ดร. ภญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
– ดร. ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักวิจัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
– ผศ.ดร.พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี โรงพยาบาลรามาธิบดีและโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
– ผศ.ดร. เชษฐา งามจรัส คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– ดร. รักมณี บุตรชน นักวิจัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
– นายทรงยศ พิลาสันต์ นักวิจัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
– นักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยจาก HITAP
ผู้กำหนดนโยบายที่เข้าร่วมการอภิปรายเรื่องการใช้ HTA ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย (เฉพาะหลักสูตรพื้นฐาน)
– นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ คณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการ
– ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
– ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจความแตกต่างของการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุขโดยใช้มุมมองที่แตกต่างกัน (เช่น ผู้ป่วย ผู้ให้บริการ ผู้ซื้อบริการ และสังคม)
– ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจเรื่องการใช้ HTA ในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด
– ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจการสร้างแบบจำลอง Markov และ decision tree อย่างง่ายที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข
– ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเขียนรายงานผลการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุขตามแนวทางการปฏิบัติที่ดีได้
หลักสูตรและค่าลงทะเบียน
หลักสูตร | ชำระเงินภายใน 31 พ.ค.62 | ชำระเงินตั้งแต่ 1 มิ.ย.62 |
สำหรับนักศึกษา |
หลักสูตรเบื้องต้น |
6,500 บาท | 7,500 บาท | 4,500 บาท* |
หลักสูตรปฏิบัติการ | 13,000 บาท | 15,000 บาท |
7,000 บาท** |
* โควตานักศึกษาหลักสูตรเบื้องต้นจำนวน 10 คน, ** โควตานักศึกษาหลักสูตรปฏิบัติการจำนวน 5 คน
สมัครครบทั้ง 4 หลักสูตร (รวมหลักสูตรการประเมินความคุ้มค่าฯ) และชำระค่าลงทะเบียน
ภายในวันที่ 30 เมษายน 2562 รับส่วนลดทันที 2,000 บาท
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://training.hitap.net/courses/course_detail?event_id=32
เริ่มลงทะเบียนออนไลน์ 6 มีนาคม 2562
รับสมัครและชำระเงินตั้งแต่่ 6 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2562
ชื่อบัญชี: การอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อย กระทรวงสาธารณสุข
เลขที่บัญชี 340-214496-1
**เมื่อท่านชำระแล้วกรุณาแนบหลักฐานการโอนเงินเป็นไฟล์ภาพผ่านเว็บไซต์ http://training.hitap.net/billing เพื่อยืนยันการสมัคร (ไม่รับลงทะเบียนหน้างาน)
รายละเอียดอื่น ๆ
กรุณาสมัครออนไลน์และส่งหลักฐานการชำระเงินได้ที่ http://training.hitap.net/register
ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 (ไม่รับลงทะเบียนหน้างาน)
วิธีการสมัคร
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ http://training.hitap.net/howto
ติดต่อ/สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทรศัพท์ 02-590-4549, 096-719-9033
อีเมล [email protected]