logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแบบจำลองประเมินความคุ้มค่าของการใช้เครื่องเพทซีที

HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาแบบจำของการประเมินความคุ้มค่าของการใช้เครื่องเพทซีชี (PET/CT) ในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญโดยทีมวิจัยนำเสนอแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์สำหรับงานวิจัย “การประเมินความคุ้มค่าของการใช้เพทซีทีในการประเมินระยะของโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กก่อนการรักษา” และ “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการใช้เพทซีทีในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้และไส้ตรง” โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ความเห็นประกอบไปด้วย ตัวแทนจากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลราคาธิบดี ,คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย โดย HITAP จะนำความเห็นที่ได้ไปพัฒนาแบบจำลองดังกล่าว รวมถึงรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในแบบจำลอง

ในส่วนของ “การประเมินความคุ้มค่าของการใช้เพทซีทีในการประเมินระยะของโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กก่อนการรักษา” การประชุมมีประเด็นปรึกษาถึงความเหมาะสมในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ ความเหมาะสมของแบบจำลองในการศึกษา, ความเหมาะสมของกลุ่มประชากรที่ศึกษาและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ทั้งนี้ ผลจากงานวิจัยจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อบรรจุการใช้เครื่องเพทซีทีในการประเมินระยะของโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก ก่อนการรักษาในการรักษาแบบต่างๆ ในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ขณะที่ใน “การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการใช้เพทซีทีในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้และไส้ตรง” มีประเด็นปรึกษาเรื่องความเป็นไปได้ในการทบทวนวรรณกรรมและเก็บข้อมูล อาทิ ข้อมูลทางระบาดวิทยาในประเทศไทย, ข้อมูลคุณภาพชีวิต และข้อมูลสัดส่วนผู้ป่วยและต้นทุนการรักษาแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ เป้าหมายของงานวิจัยคือเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณตลอดกระบวนการของการใช้เครื่องเพทซีทีในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้และไส้ตรง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินนโยบายต่อไป เช่นกัน

14 ธันวาคม 2561

Next post > HITAP วิจัยพบหลัง “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” คนไทยจ่ายค่ารักษาพยาบาลลดลง แต่ซื้อ “อาหารเสริม ยาบำรุง วิตามิน” เพิ่มกว่า 10 เท่า! แนะรัฐต้องจับตา

< Previous post HITAP ร่วมแสดงความยินดีและแสดงมุทิตาจิตให้กับ นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด