logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
สสส. ดันวิจัยประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพไทย HITAP ลงนามความร่วมมือ 12 หน่วยงานวิชาการทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัด “งานประชุมวิชาการ การประเมินสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายวิชาการการประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์” ผลักดันความสำคัญของการวิจัยประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยมี 12 หน่วยงานร่วมลงนาม

ดร. สุปรีดา อดุลยนนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานโดยเผยถึงสถานการณ์การดำเนินงานด้านสาธารณสุขจากอดีตสู่ปัจจุบันที่แนวโน้มเปลี่ยนจากมุ่งเน้นการรักษามาให้ความสำคัญกับการทำงานด้าน “การสร้างเสริมสุขภาพ” หรือ Health Promotion มากขึ้น เพื่อให้ทันกับการรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรม แต่เนื่องจากคนทั่วไปในสังคมอาจมองเห็นผลจากงานสร้างเสริมสุขภาพได้ยาก การประเมินเชิงเศรษฐศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้สังคมเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของงานด้านนี้อย่างเป็นรูปธรรมขึ้น

ทางด้าน ศ. ดร. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานการประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่าในภาพรวม แผนงานการประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นงานที่ยากและซับซ้อนทั้งในแง่ของการหาข้อมูลและการเลือกหยิบข้อมูลตัวแปรต่าง ๆ มาใช้เพื่อวัดผลของนโยบายที่มีต่อสังคม ถือเป็นความท้าทายของวงวิชาการ และต้องอาศัยความร่วมมือเป็นเครือข่ายจึงจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในระดับนโยบาย

โดยในพิธีลงนาม ดร. ภญ. พัทธรา ลีฬหวรงค์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เป็นตัวแทนมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายวิชาการการประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ร่วมกับอีก 11 หน่วยงาน ได้แก่ กรมควบคุมโรค, กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, วิทยาลัยจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

25 กรกฎาคม 2561

Next post > 10 ปี มีไม่ถึง 200 คน “นักวิจัย” ประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์

< Previous post สั่งซื้อหนังสือ “การรักษาต้องสงสัย” (Testing Treatments)

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด