logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อคัดเลือกประเด็นปัญหาของบริการฝากครรภ์สำหรับพัฒนามาตรฐานคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกประเด็นปัญหาของบริการฝากครรภ์สำหรับพัฒนามาตรฐานคุณภาพ (จาก 6 บริการให้เหลือ 3 บริการ) โดยมี ดร.รุ่งนภา คำผาง และทีมนักวิจัยของ HITAP นำเสนอหลักเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการจัดลำดับความสำคัญ  ผลการจัดลำดับความสำคัญและอภิปรายเพื่อคัดเลือก 3 ประเด็นสำหรับพัฒนาแนวทางมาตรฐานคุณภาพ

ทั้งนี้เกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาสุขภาพได้แก่ คุณภาพของบริการสุขภาพ (Quality) ภาระโรคและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ (burden of disease)  ความแตกต่างในการให้และการรับบริการสุขภาพ (variation in delivery and receiving healthcare service) และการมีแนวทางเวชปฏิบัติหรือแนวทางการให้บริการสุขภาพ (availability of guidelines or recommendations)

สำหรับการบริการฝากครรภ์สำหรับพัฒนามาตรฐานคุณภาพนั้นมีทั้งหมด 6 บริการ ได้แก่ 1. การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 2. การตรวจร่างกายและการตรวจครรภ์  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น 4. การให้การดูแล รักษา ป้องกัน เรื่องการให้กรดโฟลิก ธาตุเหล็กและไอโอดีน 5. การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ และการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด Preterm labor , การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ , การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์) และ 6. การให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ (โรงเรียนพ่อแม่) โดยทั้ง 6 การบริการนี้ จะคัดเลือกให้เหลือเพียง 3 บริการ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมกันคัดเลือก อภิปราย และให้ข้อเสนอแนะต่อการบริการที่จะคัดเลือก

ภายหลังจากการประชุมได้ข้อสรุปการคัดเลือกประเด็นปัญหาของบริการฝากครรภ์สำหรับพัฒนามาตรฐานคุณภาพ 3 บริการ ได้แก่ ภาวะการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor)   ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage, PPH) และภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) โดยหลังจากนี้ทีมวิจัยของโครงการฯ จะศึกษาและจัดทำมาตรฐานคุณภาพของทั้ง 3 บริการดังกล่าวต่อไป

12 มกราคม 2561

Next post > แนะแนวผู้รับทุนโครงการทิ้งหิ้ง ลิงก์นโยบาย

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการวิจัยการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด