logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการวิจัยการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์

HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการวิจัย การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมอภิปรายและให้คำแนะนำในประเด็นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาโครงการวิจัย

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการวิจัยการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและรับฟังข้อคิดเห็นต่อโครงร่างงานวิจัยฯ การกำหนดกรอบการศึกษาและคำถามวิจัย ให้ข้อเสนอแนะต่อรูปแบบการศึกษา และเพื่อปรึกษาแนวทางการดำเนินงานวิจัย

โครงการวิจัยการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ เห็นความสำคัญของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนของเด็กไทยในปัจจุบัน โดยศึกษาจากค่า BMI ซึ่งสาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในเด็กเกิดจากกรรมพันธุ์ การทานอาหาร อารออกกำลังกาย หรือฐานะเศรษฐกิจของครอบครัว และเนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มที่ไวต่อการชักจูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกชักจูงจากโฆษณาซึ่งส่งผลให้เด็กตัดสินใจซื้อสินค้าและบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่มากขึ้น อีกทั้งไม่มีการควบคุมโฆษณาที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และ fast-food ในประเทศไทยในรายการทางโทรทัศน์ของเด็ก ทำให้นักวิจัย HITAP ศึกษามาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในบริบทของประเทศหรือไม่ และประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในประเทศไทย โดยรูปแบบการศึกษาเป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์

ทั้งนี้นักวิจัยของโครงการฯ ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการพัฒนาโครงการวิจัยในประเด็นความจำเป็นของการศึกษา วัตถุประสงค์ คำถามและระเบียบวิธีวิจัยมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด การกำหนดค่าช่วงของ BMI ที่จะใช้ในแบบจำลอง ผลของโฆษณาฯ ในเด็กต่อภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนในวัยผู้ใหญ่ (30 ปี) ต้นทุนของการทำให้เกิดนโยบายมาตรการห้ามการโฆษณา ข้อจำกัดที่เป็นไปได้ของการศึกษา และความเป็นไปได้ที่การศึกษาจะสร้างผลกระทบเชิงนโยบาย โดยผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันอภิปรายและให้คำแนะนำต่อโครงการวิจัยดังกล่าวเพื่อนำไปพัฒนาโครงการวิจัยต่อไป

12 มกราคม 2561

Next post > ประชุมคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด