logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย

นักวิจัย HITAP นำเสนอผลการศึกษาโครงการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะในประเด็นความเหมาะสมของข้อเสนอในการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นต่อผลการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยพื้นที่กรณีศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา สมุทรสงคราม ยโสธร และสตูล และเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอรูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยโดยมี น.ส.ศรวณีย์ ทนุชิต นักวิจัยหลักของโครงการฯ เป็นผู้นำเสนอผลการศึกษา

โครงการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น  ศึกษาจากสถานการณ์การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินและทบทวนการจัดบริการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุทั้งในและต่างประเทศโดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เป็นมาตรฐานสากล คือ Star of life ตั้งแต่การพบเหตุจนถึงการนำส่งสถานพยาบาล อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ได้เพิ่มการป้องกันการเกิดเหตุและการดูแลรักษาในสถานพยาบาล ดังนั้นการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินจะแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน (Prevention) การดูแลผู้สูงอายุก่อนถึงสถานพยาบาล (pre-hospital care) การดูแลผู้สูงอายุเมื่ออยู่ในสถานพยาบาล (in hospital care) และการดูแลผู้สูงอายุระหว่างนำส่งสถานพยาบาล (interfacility transfer care)

โดยผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในปัจจุบันจัดลำดับความสำคัญผู้ป่วยตามความรุนแรงของอาการและไม่จำเป็นต้องมีระบบบริการฯ เป็นการเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ แต่ควรมีการพัฒนาในเรื่องการพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ และทักษะในการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินในกลุ่มผู้สูงอายุและควรมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของผู้สูงอายุมาใช้ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  ซึ่งหลายพื้นที่มีการใช้เครื่องมือบางส่วนอยู่แล้วตามมาตรฐานที่หน่วยงานกลางกำหนด  แต่การเลือกนำไปใช้มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้การนำเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีมาใช้ต้องพิจารณาถึงภาระ งบประมาณ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้และรองรับความต้องการของผู้สูงอายุในอนาคต ทั้งนี้ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย ทีมวิจัยของโครงการฯ จะนำมาพัฒนาโครงการต่อไป

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/research/168386

12 มกราคม 2561

Next post > ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการวิจัยการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์

< Previous post ประชุมเพื่อพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด