logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมเพื่อพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ

HITAP เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมกันอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะต่อเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ และกระบวนการดำเนินงานพัฒนามาตรฐานคุณภาพ

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 นักวิจัย HITAP เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ ณ ห้องประชุมสานใจ 2 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่ออภิปรายและให้ข้อเสนอแนะต่อกระบวนการดำเนินงานพัฒนามาตรฐานคุณภาพ สรรหาคณะที่ปรึกษาโครงการฯ และคณะทำงานพัฒนามาตรฐานคุณภาพ โดยมี ภญ.สุธาสินี คำหลวง ดร.พญ.ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี และ ภญ.พรธิดา หัดโนนตุ่น เป็นผู้นำเสนอความสำคัญของมาตรฐานคุณภาพ แผนการดำเนินโครงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพ  ที่มาการจัดลำดับความสำคัญบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับพัฒนามาตรฐานคุณภาพ

มาตรฐานคุณภาพ (Quality Standards; QS) คือ ชุดข้อความที่กระชับ ซึ่งเสนอแนะกลวิธีในการให้บริการสุขภาพที่เป็นมาตรฐาน พัฒนามาจากหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพสูง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยหลักการสำคัญของมาตรฐานคุณภาพจะช่วยชี้แนะวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) ที่พึงประสงค์แต่สามารถดำเนินการได้จริง  โดยคำนึงถึงประสิทธิผลทางคลินิก ความปลอดภัยของผู้ป่วย และประสบการณ์ของผู้ป่วย ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพบริการในด้านที่แนวปฏิบัติยังไม่ชัดเจน ยังขาดคุณภาพ หรือแนวปฏิบัติที่ทำให้ประชาชนบางกลุ่มเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ  พัฒนาด้วยกระบวนการที่มีส่วนร่วม โปร่งใส มีการอภิปราย และบรรลุข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และมีการทบทวนและทำให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักฐานทางวิชาการที่ค้นพบใหม่

สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจะพิจารณาจากคุณภาพของบริการสุขภาพ (quality) ภาระโรคและการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ (burden of disease) ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคหรือปัญหาสุขภาพนั้นๆ ความแตกต่างในการให้และการรับบริการสุขภาพ (variation in delivery and receiving healthcare service)  และการมีแนวทางเวชปฏิบัติหรือแนวทางการให้บริการสุขภาพ (availability of guidelines or recommendations) ซึ่งภายหลังการประชุมผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะต่อกระบวนการดำเนินงานพัฒนามาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าวข้างต้น ซึ่งทีมวิจัยจะนำไปพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพต่อไป

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/research/169027

12 มกราคม 2561

Next post > ประชุมผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย

< Previous post ก้าวผ่านอดีตนำไปสู่อนาคตระบบหลักประกันสุขภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด