logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: สยามรัฐ

ฉบับวันที่: 18 ธันวาคม 2017

อีก 7 ปีผู้สูงอายุไทยพุ่ง 1 ใน 5 ของประเทศ

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ผู้สูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 53 เป็น 11.5 ล้านคน ในปี 60 และคาดจะเป็นร้อยละ 20 หรือ 14.5 ล้านคน ในปี68 เท่ากับไม่ถึง 10 ปี ประชากรวัยสูงอายุจะสูงถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ และข้อมูลสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 56 โดยกรมอนามัยร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ พบร้อยละ 95 ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ความดันสูง เบาหวาน เข่าเสื่อม พิการทุพพลภาพ โรคซึมเศร้า มีเพียงร้อยละ 5 ที่ไม่เป็นโรค ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 56.7 สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุดังกล่าวส่งผลกระทบด้านสาธารณสุขเศรษฐกิจและสังคม โดยงบฯที่ต้องใช้ดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิงเฉลี่ย 15,000 ล้านบาท/ปี

ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมรองรับโดยดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 – 2564) ซึ่งกรมอนามัย และภาคีเครือข่ายการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุยังได้ร่วมดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชน ปี 61 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ ให้แข็งแรง ยืดเวลาที่จะเกิดเจ็บป่วยเรื้อรังหรือภาวะทุพพลภาพออกไป กำหนดผลระดับชาติ 20 ปี ไว้คือ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 85 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 75 ปี

18 ธันวาคม 2560

Next post > ก้าวผ่านอดีตนำไปสู่อนาคตระบบหลักประกันสุขภาพ

< Previous post ผู้เชี่ยวชาญจากอินโดนีเซียหารือ HITAP การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด