logo
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญการประเมินความคุ้มค่าของยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคในประเทศไทย

HITAP   จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ   การประเมินความคุ้มค่าของยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคในประเทศไทย   เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัย

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญการประเมินความคุ้มค่าของยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ข้อมูล และสมมติฐานในการศึกษาเพื่อการทำวิจัย โดยนักวิจัย HITAP ทำโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันวิจัยจัดการความรู้และมาตรฐานการควบคุมโรค (สวคร.) สำนักระบาดวิทยา และ สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา (สวปศ.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เนื่องจากสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยมีความรุนแรงมากขึ้นมีผู้ป่วยกว่า 120,000 รายต่อปี เสียชีวิต 12,000 รายต่อปี และเสียค่ายาไปกว่า 1,200,000 บาทในการรักษาผู้ป่วย และคาดว่าปี พ.ศ. 2559-2560 ผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยวัณโรคที่เสียชีวิตในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้น HITAP จึงร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทำโครงการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการความคุ้มค่าการลงทุนของมาตรการเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย ศึกษาสถานการณ์และประมาณการภาวะโรคด้านระบาดวิทยาและทางคลินิกจากการดำเนินการยุติปัญหาวัณโรค      ประมาณการผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการดำเนินการยุติปัญหาวัณโรค และศึกษาชุดของมาตรการยุติปัญหาวัณโรคที่มีความเหมาะสมคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย โดยคาดว่าการทำวิจัยนี้จะทำให้ได้แบบจำลองทางระบาดวิทยาและเศรษฐศาสตร์ เพื่อใช้ในการพยากรณ์แนวโน้มสถานการณ์และผลกระทบ รวมถึงวางแผนจัดสรรทรัพยากรเพื่อป้องกันและควบคุมวัณโรคของประเทศไทย และเป็นข้อมูลให้ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานใช้ในการวางแผนดำเนินงานการยุติวัณโรคในประเทศไทย

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญและทีมนักวิจัยได้อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิ ยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค 90 90 90  ผู้ป่วยวัณโรค  การตรวจวินิจฉัยและการรักษา และความคุ้มค่าของต้นทุนในการให้บริการ ค่ายา และการรักษาผู้ป่วย หลังจากนี้จะจัดประชุมอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในฉากทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ กำหนดตัวแปรที่จะใช้ในการวิเคราะห์ฉากทัศน์ (scenario analysis) เพื่อเป็นตัวแทนของสถานการณ์ที่จะเกิดในอนาคต คาดประมาณผลกระทบด้านสุขภาพที่จะเกิดในอนาคต และคำนวณอัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุน (benefit to cost ratio) ของฉากทัศน์ต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าการลงทุน (Return on Investment: ROI)

10 พฤศจิกายน 2560

Next post > HITAP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Essential Statistics for Health Technology Assessment of Health Promotion Intervention”

< Previous post ร่วมประชุม ("TECHNOLOGY ASSESSMENT"/"โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ"/"ประเมินเทคโนโลยี และ นโยบายด้านสุขภาพ"/HITAP)

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด