logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ข่าวสด

ฉบับวันที่: 2 สิงหาคม 2017

National Vaccine Conference 2017: องค์กรปกครองท้องถิ่น-ภาคประชาสังคมหนุนนำ’วัคซีนใหม่’ให้บริการประชาชน

นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มะเร็งปาก มดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย
แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ 5,000 คน ในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูก มีอุบัติการณ์สูงที่สุดในภาคเหนือ โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่มาจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพพิโลมา (เอชพีวี) โดยทั่วไปแล้วเชื้อนี้ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์แม้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
สำหรับการตรวจเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.การตรวจคัดกรองโรคโดยการทำ Pap smear 2.การตรวจหาเชื้อเอชพีวีชนิดก่อมะเร็ง ที่มีความไวสูงถึงร้อยละ 95-100 แต่ ยังมีค่าใช้จ่ายสูงอยู่ในประเทศไทย และ 3.การฉีดวัคซีนเอชพีวี โดยเริ่มที่เด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.5 เพื่อให้ร่างกายสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งจะนำไปสู่การลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกในระยะยาว ผลการศึกษาเกี่ยวกับการให้วัคซีนเอชพีวีในเฟส 1, 2 และ 3 มีความปลอดภัยสูง ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง

นพ.จตุพล กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกก็ยังมีความจำเป็นอยู่ และแนะนำให้สตรีที่ได้รับการฉีดวัคซีนเอชพีวีมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ เนื่องจากวัคซีนที่ใช้ ในขณะนี้ครอบคลุมเฉพาะเชื้อสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณร้อยละ 70 เท่านั้น ส่วนสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ

นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. มีโครงการให้บริการวัคซีนป้องกันเอชพีวีในโรงเรียนสังกัด กทม. โดยปี 2560 เป็นปีที่ 3 เพื่อเน้นป้องกันและลดความเสี่ยงกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่แรก คือ นักเรียนหญิงชั้น ป.5 จำนวนกว่า 18,000 คน ใน 438 โรงเรียนสังกัด กทม. ซึ่งเด็กนักเรียนจะได้รับวัคซีน 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 6 เดือน ป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18″ การฉีดวัคซีนให้แก่เด็กในช่วงวัยนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ได้สูงสุด กทม. เป็นหน่วยงานรัฐแห่งแรกในประเทศที่จัดให้มีบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแก่เด็กนักเรียนฟรี ที่ผ่านมา กทม. ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฟรีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นกิจกรรมตั้งรับไม่ใช่การป้องกัน แต่การให้บริการวัคซีนเอชพีวีเป็นการทำงานเชิงรุกที่เน้นป้องกันและลดความเสี่ยงตั้งแต่แรกเริ่ม และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในอนาคตอีกด้วย” นพ.วงวัฒน์ ระบุ ด้าน นายชัชวาล โนมใหม่ นายกเทศมนตรีเมืองกระนวน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พร้อมให้การสนับสนุนและปฏิบัติตามนโยบายในการดูแลสุขภาพของประชาชนควบคู่กับการป้องกันและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวีในเด็กนักเรียนหญิง ชั้น ป.5 นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของสตรีในชนบทที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

ขณะที่ น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมามีข้อเรียกร้องของฝ่ายต่าง ๆ ที่เสนอให้ เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านวัคซีนเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง ถือเป็นความร่วมมือที่ดีเพื่อการพัฒนาสิทธิประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้การจะเพิ่มสิทธิประโยชน์วัคซีนเข้าสู่ระบบได้นั้น ตามระบบแล้ววัคซีนนั้นจะต้องได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนนี้มีคณะอนุกรรมการ บัญชียาหลักแห่งชาติเป็นผู้ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา ทั้งด้านการแพทย์ เศรษฐศาสตร์และจริยธรรม ซึ่งเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ศึกษาข้อดีข้อเสีย ไม่ใช่เอาวัคซีนทุกตัวเข้ามาอยู่ในระบบสำหรับวัคซีนเอชพีวีควรจะได้รับการบรรจุในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ต้องต่อรองจนได้ราคาเหมาะสม เช่น ข้อมูลของ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า วัคซีนนี้น่าจะใช้ในประเทศไทยหากสามารถต่อรองราคาลงมาที่ประมาณ 200 บาทต่อเข็ม จากที่เคยขายในประเทศไทย ในช่วงแรก ๆ เข็มละเกือบ 5 พันบาท ซึ่งราคา 200 บาทต่อเข็ม น่าจะเป็นไปได้ เพราะปัจจุบันบริษัทวัคซีนก็ขายให้กับองค์กรนานาชาติที่ซื้อวัคซีนแจกให้กับประเทศยากจนในราคาเพียงเข็มละ 150 บาท ซึ่งประเทศไทยไม่อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุน นอกจากนี้เมื่อนำวัคซีนป้องกันเอชพีวีมาใช้ในเด็กแล้วควรมีการติดตามผลกระทบหลังการใช้ยาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงด้านสุขภาพเป็นการถอดบทเรียนสำคัญจากทุกภาคส่วนภายใต้กลไกประชารัฐในการนำวัคซีนมาให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการนำวัคซีนเอชพีวีมาให้บริการกับเด็กนักเรียนหญิง ชั้น ป.5 เพื่อลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกในระยะยาวจากเวที “บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคประชาสังคมต่อการนำวัคซีนใหม่มาให้บริการประชาชน” ในการประชุมวิชาการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 8 จัดโดย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2560 ที่โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

3 สิงหาคม 2560

Next post > รับสมัครทีมวิจัย เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ของรายการยาที่เสนอเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ

< Previous post การเข้าถึง การดูแลรักษามะเร็งถ้วนหน้า Universal health coverage

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด