logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ไทยโพสต์

ฉบับวันที่: 23 มกราคม 2017

สปสช.เจอเด็กไทยต้องใส่แว่นสายตามากกว่า 3 แสนราย

 

สาธารณสุข * บอร์ด สปสช.ต่อยอดคัดกรองปัญหาสายตาเด็กนักเรียน หลังปี 59 พบเด็กนักเรียนสายตาผิดปกติ 6.6% หรือ 5.7 แสนคน จำเป็นต้องใส่แว่นสายตา 4.1% หรือ 3.5 แสนราย แต่มีเด็กใส่แว่นไปแล้วแค่ 1% เป็นแว่นถูกต้องตามค่าสายตาเพียง 0.25% เท่านั้น

นพ.จักรกริช โง้วศิริ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนัก งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาสายตานักเรียนผิดปกติเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ด้านสุขภาพ ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ร่วมกันขับเคลื่อนดำเนินการร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (ไฮแทป) เพื่อคัดกรองสายตาผิดปกติในนักเรียนทั่วประเทศ โดยบอร์ด สปสช.ได้อนุมัติให้การตรวจคัดกรองและแก้ปัญหาสายตาในเด็กอยู่ในสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เด็กจะต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพ เริ่มต้นในปีงบประมาณ 2559

ในส่วนของการจัดหาแว่นตาให้กับเด็กนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติ ในระยะเริ่มแรก สปสช.ได้สนับสนุนสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เพื่อดำเนินการจัดหาแว่นตาที่มีคุณภาพและมาตร ฐานให้เด็กนักเรียนในภาพรวมระดับประเทศไปก่อน พร้อมเป็นศูนย์กลางเบิกจ่ายแว่นตาให้เด็กนักเรียนโดยผ่านหน่วยบริการ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเบิกจ่ายแว่นตาไปแล้ว และในระยะต่อไปเพื่อให้เกิดการ กระจายแว่นตาอย่างทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น จะดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อจัดหาแว่นตาให้เด็กนักเรียนต่อไป และในปีงบประมาณ 2560 นี้ บอร์ด สปสช.ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีในการจัดแว่นตาให้กับเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้น จากจำนวน 20,000 อัน ในปี 2559 เป็นจำนวน 25,000 อัน ในปี 2560 ซึ่งจะทำให้เด็กนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติได้รับการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น ภาวะสายตาผิดปกติในเด็กนักเรียนนับเป็นปัญหาสำคัญ เพราะจะส่งผลกระทบทั้งด้านการเรียนและพัฒนาการของเด็กในอนาคต จึงต้องเร่งดำเนินการ

นพ.จักรกริชกล่าวต่อว่า การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติให้กับเด็กนักเรียน เป็นผลจากการศึกษาโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ที่ได้สำรวจสายตาเด็กไทยอายุ 3-12 ปี ในปี 2554-2555 พบเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติร้อยละ 6.6 และจำเป็นต้องใส่แว่นสายตาร้อยละ 4.1 ในจำนวนนี้มีเด็กใส่แว่นแล้วก่อนหน้าการคัดกรองเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น แต่ปรากฏว่าแว่นเดิมที่เด็กใส่มีความถูกต้องตามค่าสายตาเด็กเพียงแค่ร้อยละ 0.25 ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะมีเด็กที่มีสายตาผิดปกติ 5.7 แสนคน โดย 3.5 แสนคนจำเป็นต้องใส่แว่น มีเด็กที่ตัดแว่นแล้ว 8 หมื่นคน แต่ใส่แว่นถูกต้องกับค่าสายตาประมาณ 2 หมื่นคน ดังนั้นยังคงมีเด็กมากกว่า 3 แสนคนที่จำเป็นต้องใส่แว่น.

23 มกราคม 2560

Next post > คุณได้รับเชิญให้เข้าร่วม โครงการ iCanQuit

< Previous post แก้การมองเห็น เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด