logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: บ้านเมือง

ฉบับวันที่: 2 ธันวาคม 2016

วิพากษ์อนาคต อย. (1)

โครงการประเมินเทคโนโลยีและ นโยบายด้านสุขภาพ  จัดทำจุลสารเพื่อเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัยเรื่อง อนาคต อย.อนาคตผู้บริโภคไทย มีเนื้อหาน่าสนใจ ทั้งนี้เป็นข้อเท็จจริงว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการคมนาคมขนส่งทำให้มีผลิตภัณฑ์สุขภาพใหม่ๆ ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย มีจำหน่ายในประเทศมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพ หรือมีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค

แต่ทว่าหน่วยงานหลักของประเทศที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีข้อจำกัดด้านกำลังคน งบประมาณ รูปแบบองค์กร ตลอดจนกฎหมายที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดได้อย่างทั่วถึง จึงมักจะปรากฏข่าวมีผู้เสียชีวิตจากการกินยาลดความอ้วน มีผู้คนเจ็บป่วยเพราะสารปนเปื้อนในอาหาร หรือเครื่องสำอางเกิดขึ้นเสมอๆ

ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นอยู่เช่นนี้ คาดว่าอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้าคนไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาร้ายแรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผสมสารอันตรายหรือด้อยคุณภาพ ในขณะเดียวกันจะขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีสุขภาพใหม่ๆ บางชนิด กอปรกับปัจจุบันการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของ อย.ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะขั้นตอนมาก การทำงานล่าช้า และไม่สามารถรักษาบุคลากรไว้ในองค์กรได้เพราะค่าตอบแทนน้อย

ดังนั้นจึงมีการนำเสนออนาคตของ อย. โดยทางเลือกที่ 1 ให้ อย.อยู่ในระบบราชการเช่นเดิม แต่ต้องปรับปรุงกฎหมายและวิธีการทำงานให้ทันสมัยและเข้ากับสถานการณ์ รวมถึงเก็บค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผล และสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค ทางเลือกที่ 2 อย.อยู่ในระบบราชการเช่นเดิม แต่ตั้งองค์กรอิสระเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงรับเรื่องร้องเรียนและชดเชยเยียวยาโดยอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข

ทางเลือกที่ 3 ให้ อย.ทั้งหมดแยกออกมาจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ แต่ยังอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข และทางเลือกที่ 4 คือการปรับใหญ่ อย.เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยจัดตั้งองค์กรอิสระ 3 องค์กรดูแลแต่ละผลิตภัณฑ์ คือองค์กรที่ 1 ดูแลสารเคมีรวมทั้งเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย องค์กรที่ 2 ดูแลอาหาร และองค์กรที่ 3 ดูแลยาและเครื่องมือแพทย์ ซึ่งบทวิพากษ์อนาคต อย.เป็นเรื่องที่น่าไตร่ตรอง เพราะเกี่ยวข้องกับอนาคตผู้บริโภคไทย

2 ธันวาคม 2559

Next post > บ้านเมือง: วิพากษ์อนาคต อย. (2)

< Previous post คอลัมน์ ส่องสถานการณ์: เย ธัมมา เหตุปปภวา... (4)

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด